Abstract:
ในงานวิจัยนี้ อุปกรณ์ทดสอบบนกระดาษควบคู่กับการตรวจวัดสีโดยใช้เงินอนุภาคนาโน สำหรับการหาปริมาณปรอท Hg(II) ได้ถูกพัฒนาขึ้น ดีแอล-เมทไธโอนีนถูกใช้ในการดัดแปรพื้นผิวเงิน อนุภาคนาโน เพื่อทำให้มีความจำเพาะ และความไวในการตรวจวัด Hg(II) อุปกรณ์กระดาษถูกประดิษฐ์ โดยการพิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ส่วนการตรวจวัดเชิงสีถูกติดตามได้ด้วย ตาเปล่า ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล และการประมวลผลจากโปรแกรม เมื่อเติม Hg(II) ลงไปในสารละลายเงินอนุภาคนาโนที่ถูกดัดแปร จะเกิด การเปลี่ยนแปลงสีอย่างชัดเจนจากสีม่วงเป็นสีส้ม โดยสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ยังได้ศึกษากลไกของเทคนิคนี้ของเงินอนุภาคนาโนที่ถูกดัดแปรในภาวะที่มี และไม่มี Hg(II) ด้วยการพิสูจน์เอกลักษณ์โดยใช้เครื่องฟูริเออร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรด สเปกโทรมิเตอร์ เครื่องยูวี-วิซิ เบิล สเปกโทรโฟโตมิเตอร์ และกล้องจุลทรรศน์แบบส่องผ่าน ตามลำดับ ได้มีการศึกษาตัวแปรในการ ตรวจวัดสี เช่น ความเข้มข้นของตัวดัดแปร เวลาในการเกิดปฏิกิริยา ถูกทำให้เหมาะสม เพื่อที่จะได้ภาวะ ที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจวัด Hg(II) พบว่าช่วงความเป็นเส้นตรงของกราฟมาตรฐานอยู่ในช่วง 50 ถึง 500 ppb ซึ่งมีขีดจำกัดในการตรวจวัด เท่ากับ 38 ppb (S/N = 3) นอกจากนี้ วิธีที่พัฒนาขึ้นนี้มี ความจำเพาะต่อการตรวจวัด Hg(II) เทียบกับโลหะชนิดอื่นๆ (As(III) Ni(II) Fe(III) Cu(II) Zn(II) Mg(II) Cd(II) และ Pb(II)) และวิธีนี้ยังถูกประยุกต์ใช้ตรวจวัด Hg(II) ในน้ำดื่ม น้ำประปา และน้ำจากแหล่งน้ำ พบว่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับของ Hg(II) ที่ถูกเติมลงไปนั้นมีค่าที่ยอมรับได้