Abstract:
ศึกษาหาแนวทางที่จะปรับปรุงการออกแบบอาคารภาครัฐ เพื่อให้มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เหมาะสมในเชิงเทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์ การศึกษาสามรถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน หลักๆ คือส่วนแรกสำรวจประเมินและวิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคาร และระดับอุณหภูมิภายในอาคารที่มีผลกระทบสภาวะน่าสบาย ส่วนที่สองจำลองสภาพอาคารกรณีศึกษาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ DOE-2 เพื่อระบุปัญหาการใช้พลังงานและหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาของอาคาร ท้ายสุดได้สรุปแนวทางการออกแบบอาคารต้นแบบ (typical) ของอาคารสำนักงานภาครัฐ เพื่อลดการใช้พลังงานในอาคาร ผลจากการวิจัยพบว่า พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ภายในอาคารถูกใช้ไปกับเครื่องปรับอากาศ จากองค์ประกอบทางเปลือกอาคารที่มีความต้านทานความร้อนไม่ดีพอ ทำให้ค่าการถ่ายเทความร้อนผ่านเปลือกอาคาร มีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายควบคุมได้ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีปัญหาและนำมาพิจารณาปรับปรุง ได้แก่ ผนังทึบ หลังคา การแผ่รังสีอาทิตย์ผ่านกระจก การนำความร้อนผ่านกระจก โดยปรับปรุงเปลือกอาคารที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ แผงกันแดดภายนอกอาคาร การวางผังและรูปทรงของอาคาร และการวิเคราะห์พื้นที่หน้าต่างต่อพื้นที่ผนังทั้งหมด (WWR) ส่วนพลังงานที่ใช้ในระบบแสงประดิษฐ์นั้น มีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างต่อพื้นที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายควบคุม ผลการวิจัยสรุปได้ว่ารูปทรงอาคารสี่เหลี่ยมผื้นผ้าตามตะวันและสัดส่วนหน้าต่างต่อพื้นที่ผนังทั้งหมด 30% มีปริมาณการใช้พลังงานต่ำที่สุด ส่วนแผงกันแดดในทิศทางต่างๆ จากการวิเคราะห์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าพบว่า แผงกันแดดทางทิศเหนือมีลักษณะแนวตั้ง ส่วนแผงกันแดดทางทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกมีลักษณะแนวนอน 2 ชั้นมีความเหมาะสมที่สุดกับอาคาร จากการคัดเลือกวัสดุเปลือกอาคารโดยกำหนดหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ ประการแรกเป็นวัสดุที่ราคาไม่สูง ประการที่สองมีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อน ประการสุดท้ายมีปริมาณการใช้พลังงานน้อยที่สุด ผลจากการศึกษาพบว่าผนังมี 10 รูปแบบ โดยผนังที่มีการติดตั้งฉนวนใยแก้ว 2 และ 3 นิ้ว มีศักยภาพด้านการประหยัดพลังงาน และความคุมค่าทางด้านเทคนิคและการลงทุนยังไม่คุ้มค่าหรือน่าสนใจเท่าที่ควร ซึ่งหลังคามี 10 รูปแบบ โดยหลังคาจะแบ่งเป็นหลังคากระเบื้องและหลังคาคอนกรีต พบว่าหลังคาที่มีการติดตั้งฉนวนใยแก้ว 2 และ 3 นิ้ว มีศักยภาพด้านการประหยัดพลังงานและความคุมค่าทางด้านเทคนิคและการลงทุนยังไม่คุ้มค่า หรือน่าสนใจเท่าที่ควร ส่วนกระจกมี 10 รูปแบบ กระจกที่มีค่าสัมประสิทธิ์การบังแดด(SC) ที่ต่ำจะมีศักยภาพในการแต่ในการวิจัยครั้งนี้คำนึงถึงราคาจึงทำให้กระจกที่เลือกมีทั้งกระจกธรรมดา กระจกสะท้อนแสง และกระจก 2 ชั้น เพื่อให้เหมาะสมกับการลงทุนในการก่อสร้างอาคารสำนักงานของแต่หน่วยงาน