Abstract:
จังหวัดสิงห์บุรีและอ่างทอง อยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ถือได้ว่าเป็น ศูนย์กลางการผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าว และแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญ มีความพร้อมทางสภาพ ภูมิศาสตร์ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ และการคมนาคมขนส่งที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา และจากการขยายตัวของเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากร การใช้เทคโนโลยีต่างๆที่ไม่เหมาะสมทางการเกษตร การทำประมงน้ำจืดอย่างหนาแน่น เป็น สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรโดยเฉพาะทรัพยากรที่ดินซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่ หมดสิ้น (Maintainable) โดยหลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่เกษตร ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดลง การพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการทำการเกษตรอย่างเข้มข้น และขาดการบำรุงรักษา วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทรัพยากรที่ดิน กับการตั้งถิ่นฐานของประชากร วิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัด ในการใช้ทรัพยากรที่ดินที่เกิดขึ้นในอดีต แนวโน้มและศักยภาพในการพัฒนา เพื่อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดสิงห์บุรีและอ่างทองโดยใช้ แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากการศึกษาพบว่า จังหวัดสิงห์บุรีและอ่างทองอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีแม่น้ำสำคัญ 2 สายไหลผ่านคือแม่น้ำ เจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำและทรัพยากรดิน การชลประทานครอบคลุมพื้นที่ เกษตรกรรมเกือบทั้งหมด การใช้ที่ดินส่วนใหญ่เพื่อการกสิกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือข้าว และอ้อย มีการทำการประมง น้ำจืดริมแม่น้ำ มีบทบาทในการเป็นแหล่งผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของพื้นที่ภาคกลาง และเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการ แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและประมง พื้นที่มักประสบกับปัญหาน้ำท่วมน้ำหลากเข้าพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ชุมชน การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอในฤดูการเพาะปลูกก่อให้เกิดความขัดแย้งของเกษตรกรผู้ต้องการใช้น้ำ รวมถึง ความเสื่อมโทรมของพื้นที่เกษตรกรรมและคุณภาพดิน ปัญหาต่างๆเหล่านี้ส่งผลกระทบและมีความเชื่อมโยงถึงการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรที่ดิน ทั้งด้านทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้นการวาง แนวทางการใช้ทรัพยากรที่ดินจึงมุ่งเน้นถึงการวางแผนให้เหมาะสมต่อศักยภาพและข้อจำกัดของพื้นที่ เพื่อฟื้นฟูและ ปรับปรุงสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย โดยคำนึงถึงปัจจัยทาง กายภาพ รูปแบบการใช้ที่ดิน ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่แผนพัฒนาการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร ทั้งพื้นที่ เกษตรกรรมแบบเข้มข้น พื้นที่เกษตรกรรมทั่วไป รวมถึงเขตพัฒนาเพื่อการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด แนวทาง การจัดการทรัพยากรน้ำ แนวทางการจัดการทรัพยากรดิน แนวทางการพัฒนาพื้นที่ชุมชนและอุตสาหกรรม