Abstract:
จากการวิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงเชิดนอกทางอาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ พบว่าเพลงเชิดนอกนั้นมีต้นกำเนิดที่แตกต่างไปจากเพลงทั่วไปกล่าวคือมีต้นกำเนินเป็นเพลงเดี่ยที่ไม่ได้อาศัยเค้าโตรงมาจากทำนองหลักและมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการแสดงเป็นปฐมอีกประการหนึ่งเพลงเชิดนอกเป็นเพลงที่แตกต่างไปจากเพลงในกลุ่มเพลงเชิดด้วยกันอย่างสิ้นเชิงด้วยระบบโครงสร้างเพลงที่มีอัตลักษณ์เป็นเพลงทยอยมีการแทรกโยนซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประพันธ์สามารถประดิษฐ์ทำนองสอดแทรกเข้าไปได้ตามภูมิปัญญาและจินตนาการซึ่งต่างจากเพลงเชิดอื่นๆส่วนในการประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวจะเข้ของอาจารย์ศิวศิษฎ์ นิลสุวรรณนั้นมีแนวคิดแบบอัตโนมัติรวมถึงความประทับใจในลีลาการดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีต่างๆ เช่นระนาดเอก ระนาดทุ้มปี่ เป็นต้น เพลงเชิดนอกมีส่วนสำคัญอยู่ 3 ส่วนเรียกว่า “จับ” ซึ่งสอดคล้องกับท่าทางการแสดงอันแสดงถึงอัตลักษณ์สำคัญอีกประการหนึ่งของเพลงเชิดนอกคือการเลียนเสียงคำร้องว่า “จับให้ติดตีให้ตาย” “จับตัวให้ติด ตีให้แทบตาย” จากการวิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงเชิดนอกทางอาจารย์ศิวศิษฎ์ นิลสุวรรณ พบว่ามีกลวิธีพิเศษในการดีดจะเข้ 7 วิธีคือการดีดสะบัดเสียงเดียว การดีดสะบัด 2 เสียง การดีดสะบัด 3 เสียง การดีดทิงนอย การดีดรูดสาย การดีดตบสาย การดีดขยี้ จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าวจึงเป็นเครื่องยืนยันถึงความสามารถทางด้านดุริยางคศิลป์ของอาจารย์ศิวศิษฎ์ นิลสุวรรณ ที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้มาสร้างสรรค์เป็นผลงานทางดุริยางคศาสตร์ได้อย่างเต็มภาคภูมิ