Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาพัฒนาการของอำนาจท้องถิ่นในบริเวณลุ่มแม่นํ้าบางปะกงและชายฝั่งทะเลตะวันออก พ.ศ. 2440 – 2516 พัฒนาการของอำนาจท้องถิ่นในบริเวณลุ่มแม่นํ้าบางปะกงและชายฝั่งทะเลตะวันออกมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2440 รัฐสถาปนาอำนาจทางการเมืองลงสู่ท้องถิ่นด้วยการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ.2440 อำนาจท้องถิ่นส่วนหนึ่งมีการปรับตัวโดยเข้ามาเป็นตัวแทนของระบบราชการอย่างแท้จริง อีกกลุ่มหนึ่งได้แฝงตัวอยู่ในระบบราชการโดยดำเนินบทบาทในลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการปกครอง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กลุ่มอำนาจท้องถิ่นมีการปรับตัวโดยสร้างความสัมพันธ์กับนักการเมืองและข้าราชการสามัญชนซึ่งขึ้นมามีอำนาจแทนที่ เจ้านาย แต่กระบวนการเลือกตั้งที่ไม่ต่อเนื่องภายหลัง 2475 ทำให้กลุ่มอำนาจท้องถิ่นไม่สามารถพัฒนาเครือข่ายความสัมพันธ์กับนักการเมืองที่เอื้อผลประโยชน์ต่อกันในระดับสูงกลุ่มอำนาจท้องถิ่นมีพัฒนาการสู่ความเป็น “เจ้าพ่อภาคตะวันออก” ในทศวรรษ 2490 ภายใต้การ ขยายตัวของระบบทุนนิยมที่นำไปสู่การเติบโตของอุตสาหกรรมพืชไร่และปาไม้ในท้องถิ่น พร้อมกับการใช้ความรุนแรงด้วยกำลังอาวุธและมือปืนในการแสวงหาและปกป้องผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากรูปแบบการผลิตใน "ค่ายนรก” และต่อมา “เจ้าพ่อภาคตะวันออก” มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในทศวรรษ 2500 และ 2510 ภายใต้การส่งเสริมอุตสาหกรรมใน ภาคเอกชนของรัฐภายหลังการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและลังคมแห่งชาติ ซึ่งเจ้าพ่อสร้างเครือข่ายทางการเมืองที่ กว้างขวางออกไป โดยมีความสัมพันธ์กับนักการเมืองและอำนาจรัฐในระดับประเทศ และพัฒนาลู่ความเป็น "เจ้าพ่อภาตะวันออก” อย่างที่เป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมา