Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระบบวรรณยุกต์และสัทลักษณะของวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นใต้อ. เกาะสมุย ที่พูดโดยผู้พูดอายุมาก (60-70 ปี) และผู้พูดอายุน้อย (10-20 ปี) ในทั้ง 7 ตำบลของอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ ตำบลลิปะน้อยตลิ่งงามอ่างทอง มะเร็ตหน้าเมืองบ่อผุดและแม่น้ำ ผู้วิจัยเลือกจุดเก็บข้อมูลตำบลละ 1 หมู่บ้านซึ่งประชากรที่ผู้วิจัยสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นหมู่บ้านที่ใช้ภาษาเกาะสมุย ในชีวิตประจำวันและเหมาะสมที่จะเป็นตัวแทนของตำบลนั้นๆ ผู้วิจัยกำหนดจำนวนผู้บอกภาษาจุดละ 6 คนประกอบด้วยผู้พูดอายุมากจำนวน 3 คนและผู้พูดอายุน้อยจำนวน 3 คนรวมจำนวนผู้บอกภาษาทั้งสิ้นในงานวิจัยนี้จำนวน 42 คนคำที่ใช้เป็นคำทดสอบประกอบด้วยคำพยางค์เดียว 15 คำมีคำพยางค์เป็น 9 คำ ได้แก่ ขาตาทาข่าป่าท่าผ้าป้าท้าคำพยางค์ตายสระเสียงยาว 3 คำ ได้แก่ ขาดปาดทาบและคำพยางค์ตายสระเสียงสั้น 3 คำ ได้แก่ ขัดปิดทับคำเหล่านี้เป็นตัวแทนของคำที่ปรากฏในช่องต่างๆ ของกล่องวรรณยุกต์ (William 3. Gedney, 1972) ในการเก็บข้อมูลผู้วิจัยนำค้าเหล่านี้มาสร้างเป็นรายการค่ำแต่ละคำปรากฏ 10 ครั้งโดยสลับที่ไม่ให้มีคำเดียวกันอยู่ในลำดับต่อกันผู้วิจัยแสดงบัตรคำให้ผู้บอกภาษาออกเสียงและบันทึกเสียงไว้ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยวิเคราะห์ระบบวรรณยุกต์ด้วยวิธีการฟังและวิเคราะห์สัทลักษณะของวรรณยุกต์โดยวิธีการทางกลสัทศาสตร์ด้วยโปรแกรม Praat version 4. 4. 13 และใช้โปรแกรม Microsoft Excel Version 5. 1 แปลงผลให้เป็นกราฟเส้น ผลการวิจัยพบว่าระบบวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นใต้อำเภอเกาะสมุยที่พูดโดยผู้บอกภาษาทั้ง 2 รุ่นอายุในทุกตำบลเป็นระบบวรรณยุกต์เดียวกันประกอบด้วยวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียงจากการวิเคราะห์สัทลักษณะของวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดที่อำเภอเกาะสมุย พบว่า ภาษาไทยถิ่นใต้อำเภอเกาะสมุยที่พูดโดยผู้ที่มีอายุต่างกันในแต่ละตำบลมีสัทลักษณะของวรรณยุกต์ไม่แตกต่างกันอีกทั้งไม่มีการแปรของสัทลักษณะของวรรณยุกต์ตามถิ่นที่อยู่ของผู้พูดในทั้งสองรุ่นอายุ