Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาข้อมูลผิดปกติในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแAnalysis of varianceผนแบบการทดลองแบบสุ่มตลอด โดยที่ตัวแบบมีรูปแบบดังนี้ y = µ+t + ɛ เมื่อ i = 1…k และ j = 1…n โดยที่ y แทน ข้อมูลตอบสนองที่ j ได้รับวิธีที่ j µ แทนค่าเฉลี่ยรวม t รวมอิทธิพลของวิธีทดลองที่ i ɛ แทนความคลาด เคลื่อนของข้อมูลตอบสนองที่ j ซึ่งได้รับวิธีทดลองที่ j และ ɛii มีการแจกแจงแบบปกติโดยเป็นอิสระซึ่งกันและกัน มีค่าเฉลี่ยเป็น 0 และความแปรปรวนรวมเป็น σ² k แทนจำนวนวิธีทดลอง และ n จำนวนซ้ำในแต่ ละวิธีทดลอง ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการสร้างข้อมูลตามขอบเขตการวิจัยด้วยโปรแกรม S-PLUS 2000 โดยกำหนดให้จำนวนวิธีทดลองเท่ากับ 3,4 และ 5 จำนวนซ้ำในการทดลองเท่ากับ 5, 6,7 และ 8 ให้สัมประสิทธิ์ การแปรผันมีความแตกต่างกัน 3 ระดับได้แก่ 30% 40% และ 50% สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบวิธีการแปลงข้อมูลที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นคือ ค่าสัดส่วนของจำนวนค่าผิดปกติที่ลดลงภายหลังการแปลงข้อมูลค่าสัดส่วนของข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบปกติและความแปรปรวนเท่ากันภายหลังการแปลงข้อมูล ค่าสัดส่วนของการปฏิเสธสมมติฐานว่างและอำนาจการทดสอบของการทดสอบเอฟที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.05 ผลการศึกษาจะสรุปได้ดังนี้ 1.การแปลงข้อมูลด้วยค่า λ = 0.5 ให้ค่าสัดส่วนของจำนวนค่าผิดปกติที่ลดลงภายหลังการแปลงข้อมูลสูงที่สุดและพบว่าการแปลงข้อมูลด้วย λ = 0.5 ยังให้ค่าสัดส่วนของข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบปกติและความ แปรปรวนเท่ากันภายหลังการแปลงข้อมูลสูงที่สุด 2.การแปลงข้อมูลด้วยค่า λ = 0.5 และ λ = 1.5 เป็นวิธีการแปลงข้อมูลที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาข้อ มูลผิดปกติที่ได้จากแผนแบบการทดลองสามตลอด และพึงควรระวังปัญหาการแจกแจงของข้อมูลตอบสนองอาจไม่เป็นการแจกแจงแบบปกติความแปรปรวนไม่เท่ากันภายหลังการแปลงข้อมูลด้วย y = 1.5 3.เมื่อจำนวนค่าผิดปกติมากขึ้นพบว่า ในแต่ละสถานการณ์ค่าสัดส่วนของจำนวนค่าผิดปกติที่ลดลง ภายหลังการแปลงข้อมูลจะมีแนวโน้มสูงขึ้น