Abstract:
เพลงทยอยเดี่ยว ประพันธ์ขึ้นตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร)สำหรับใช้เดี่ยวปี่เพื่ออวดฝีมือโดยเฉพาะ อีกทั้งยังเป็นเดี่ยวขั้นสูงสุดเพลงหนึ่ง ในวัฒนธรรมดนตรีไทยอัน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นแหล่งสมัยรวมสรรพวิชาทั้งด้านวิธีการปฏิบัติและการใช้ทฤษฎีในการประดิษฐ์ทำนอง ต่อมาครูหลวงไพเราะเสียงซอได้ประพันธ์เพลงทยอยเดี่ยวสำหรับซออู้ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยใช้กลวิธีการ บรรเลงตามอัตลักษณ์ของซออู้เป็นหลัก การศึกษาและวิเคราะห์ทางดนตรีในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลบริบทของเพลงวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างเฉพาะทางดนตรี และรวมถึงการใช้กลวิธีพิเศษและเม็ดพรายต่าง ๆ ที่ปรากฏในเพลงทยอยเดี่ยว ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบทำนองแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เนื้อทำนองเพลงและทำนองโยน โดยมีส่วนประกอบ ของเพลงแบ่งออกเป็นส่วนขึ้นทำนอง ส่วนเนื้อทำนอง ส่วนทำนองโยน ส่วนเชื่อมทำนองและส่วนลงจบทำนอง 2.ลักษณะของการดำเนินทำนอง ใช้วิธีการบรรเลงที่เรียกว่า ลอยจังหวะ การทอนทำนองและการแปร ทำนอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้สำนวนกลอนเพลงมีความยาวขึ้นบนพื้นฐานโครงสร้างของกลุ่มเสียงย่อยในแต่ละ สำนวน อันจะส่งผลให้ทำนองมีความหลากหลายมากขึ้น 3.วิธีการบรรเลงซออู้ตลอดทั้งเพลง ใช้กลวธีพิเศษและเม็ดพรายที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนบันไดเสียงจาก บันไดเสียงหลัก คือ ซลทxรมx เป็นบันไดเสียงรองจำนวนทั้งหมด 5 บันไดเสียงดังปรากฏในทำนองเพลง นอกจากนี้การใช้กลวิธีพิเศษในบางทำนองยังคงรูปแบบลักษณะทำนองที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะของการบรรเลง นิ้วเอกของปี่ 4.ความสอดคล้องของจังหวะประกอบด้วยลักษณะทำนองที่แตกต่างกันจึงทำให้ผู้บรรเลงและผู้ควบคุม จังหวะต้องมีจุดสังเกตของทำนองในทิศทางเดียวกัน เช่น การหมดวรรคการลอย การหมดวรรคทำนอง การ เปลี่ยนอัตราจังหวะ การยืนจังหวะของหน้าทับในขณะแนวทำนองของผู้บรรเลงที่มีความเร็วขึ้น การศึกษาลักษณะการดำเนินทำนองเพลงทยอยดี่ยวสำหรับซออู้ ทางครูหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)เป็นการศึกษาผลงานเพลงทางดุริยางคศิลป์ไทยชิ้นหนึ่ง ที่เป็นการสืบทอดและอนุรักษ์องค์ความรู้แห่งภูมิปัญญาของโบราณจารย์ให้ดำรงอยู่สืบไป