Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการนำหลักการป้องกันไว้ก่อนมาช่วยแก้ปัญหาควายากในการปฏิบัติของมาตรการจัดการทรัพยากรของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 โดยเฉพาะกรณีการจัดการประมง ซึ่งในการศึกษาพบว่า 1. ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ UNCLOS 1982 มิได้มีข้อตกลงใดโดยรงที่กล่าวถึงหลักการป้องกันไว้ก่อน (precautionary principle) แต่ได้กำหนดให้มีมาตรการต่าง ๆ ในด้านการประมงในการอนุรักษ์และการสงวนสิ่งมีชีวิตในทะเลเพื่อให้รัฐต่าง ๆ นำมาปรับใช้แต่มาตรการเหล่านั้นยากที่จะนำมาปฏิบัติได้จิง เนื่องจากเครื่องมือ และวิธีที่ให้รัฐนำไปปฏิบัติเช่น รัฐต้องจัดหาข้อมูลที่ดีที่สุดทางวิทยาศาสตร์เพื่อการคำนวนโควตาการจับปลา ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีและความรู้ ระยะเวลาพอสมควรซึ่งไม่ทันเวลากับการทำลายสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยการประมงที่มีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว 2. จึงจำเป็นที่ต้องพิจารณาวิธีการเพื่อให้มาตรการของ UNCOLS 1982 ปฏิบัติได้จริง ดังนั้นน่าจะมีการดำเนินการออกฎหมายหรือมาตรการต่างๆ พร้อมกับเรื่องเตือนภัยในการอนุรักษ์การทำประมงหรืออย่างน้อยก็จะเป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์แก่รัฐฝั่งอื่น ๆ ในการนำไปออกกฎหมายภายในที่ดำเนินการปฏิบัติได้จริง ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่การปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์และสงวนที่กำหนดโดย UNCLOS อย่างสมบูรณ์แบบจึงเห็นว่าหลักการป้องกันไว้ก่อนล่วงหน้า (precautionary principle) เป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมในการจัดการกับประมง เพื่อการทำประมงเป็นไปด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรในเวลาเดียวกัน จากปัญญาด้านการปฏิบัติตามมาตรการตาม UNCLOS 1982 สะท้อนให้เห็นว่าจริงๆ แล้ว เรื่องการอนุรักษ์การประมงอยุ่ใกล้ชิดกับการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยโดยเฉพาะทางทะเลและหากมาตรการใด ๆ ที่จะช่วยเยียวยาความเสียหายแล้ว มาตรการป้องกันไว้ดีกว่าแก้หรือหลักการป้องกันไว้ก่อน น่าจะนำมาใช้ก่อนดีที่สุด แม้จะมิได้ปรากฎใน UNCOS 1982 โดยตรงก็ตาม นอกจากนี้จะยิ่งดีที่หากไม่ต้องมีการคำนึงถึงความเป็นภาคีหรือไม่ถ้าจะนำแนวทางการกันไว้ดีกว่าแก้ไปปรับใช้พร้อมมาตรการอนุรักษ์ต่าง ๆ ที่ปรากฎในอนุสัญญาต่าง ๆ มาเป็นหลักสำคัญในการออกกฎหายภายในด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการประมงให้มีความชัดเจนและปฎิบัติได้อย่างเหมาะสมที่ดีต่อไป