Abstract:
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผิดนัดชำระหนี้และการเกิดหนี้เสียของบัตรCredit cardsโดยอาศัยแบบจำลอง Logistic Regression และใช้ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากสถาบันการเงินรายใหญ่แห่งหนึ่งประเทศไทย จำนวน 19,626 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เพศชาย, อาชีพเจ้าของกิจการ, อาชีพอิสระ รับจ้างทั่วไป, อาศัยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร, จำนวนบัตรเครดิต, ยอดหนี้, ยอดการชำระตืนขั้นต่ำ, สัดส่วนการชำระเงินคืนขั้นต่ำต่อรายได้มีอิทธิพลต่อการผิดนัดชำระหนี้และทำให้ความน่าจะเป็นของการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อาชีพรัฐวิสาหกิจ, อายุ, รายได้, วงเงินต่อรายได้, การชำระคืนหนี้, สัดส่วนการชำระคืนต่อยอดหนี้และสัดส่วนการชำระหนี้คืนหนี้บัตรเครดิตต่อรายได้มีอิทธิพลต่อการผิดนัดชำระหนี้และทำให้ความน่าจะเป็นของการผิดนัดชำระหนี้ลดลง เมื่อนำกลุ่มตัวอย่างที่มีการผิดนัดชำระหนี้ จำนวน 5,168 ตัวอย่าง หาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดหนี้เสีย พบว่า จำนวนบัตรเครดิต, ยอดการชำระคืนขั้นต่ำและสัดส่วนการชำระเงินคืนขั้นต่ำต่อรายได้มีอิทธิพลต่อการเกิดหนี้เสียและทำให้ความน่าจะเป็นของการเกิดหนี้เสียเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่อาชีพเจ้าของกิจการ, อายุ, รายได้, วงเงินต่อรายได้, การชำระคืนหนี้และสัดส่วนการชำระคืนหนี้บัตรเครดิตต่อรายได้มีอิทธิพลต่อการเกิดหนี้เสียและทำให้ความน่าจะเป็นของการเกิดหนี้เสียลดลง ดังนั้นเพื่อช่วยลดความน่าจะเป็นของการผิดนัดชำระหนี้และการเกิดหนี้เสีย ธนาคารแห่งประเทศไทยควรดำเนินนโยบายควบคุมปริมาณบัตรเครดิตที่ผู้บริโภคถือต่อคน และควรพิจารณาการปรับฐานเงินเดือนในการสมัครบัตรเครดิต รวมทั้งควรทบทวนนโยบายการปรับยอดการชำระขั้นต่ำ เพราะมีผลทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้และหนี้เสียมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ