dc.contributor.advisor |
พรชัย สิทธิศรัณย์กุล |
|
dc.contributor.advisor |
สุธีร์ รัตนะมงคลกุล |
|
dc.contributor.author |
วรพรรณ กาญจนกันทร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-07-13T01:45:11Z |
|
dc.date.available |
2020-07-13T01:45:11Z |
|
dc.date.issued |
2548 |
|
dc.identifier.isbn |
9745320455 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66988 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
en_US |
dc.description.abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการทำงานล่วงเวลา, สุขภาพของแพทย์จบใหม่และอันตรายที่เกิดต่อผู้ป่วย โดยใช้รูปแบบการศึกษาเป็นแบบเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งช่วง เม.ย.-ก.ย. พ.ศ. 2547 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแพทย์ใช้ทุนปีที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2547 จำนวน 460 คน โดยใช้แบบสอบถาม และการเก็บข้อมูลการสั่งยาโดยตรงจากโรงพยาบาลโดยเลือกจากโรงพยาบาลที่ให้ความร่วมมือจำนวน 1 โรงพยาบาล มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 329 คน เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ (ชาย 158 คน หญิง 171 คน) คิดเป็นอัตราเข้าร่วมการศึกษา ร้อยละ 71.5 ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 33.4) มีชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาทั้งหมดในช่วง 41-60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์, ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 55.6) เกิดการหลับในขณะทำงานเป็นบางครั้งในวันรุ่งขึ้นหลังจากทำงานล่วงเวลา กลุ่มที่ทำงานล่วงเวลามากกว่า 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ทั้งหมดเกิดความรู้สึกอ่อนเพลีย, อ่อนล้าบ่อยและ ร้อยละ 74.7 รู้สึกว่างานหนักเกินไป ข้อมูลสุขภาพแพทย์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.6) ไม่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่พบโรคทางเดินหายใจ (ร้อยละ 56.0) ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาพบว่าแพทย์ส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนมากที่สุด (ร้อยละ 75.4) เวลาที่ใช้ในการนอนหลับส่วนใหญ่(ร้อยละ 51.2) อยู่ในช่วง 4-6 ชั่วโมงต่อวัน ด้านสุขภาพจิตโดย Thai GHQ-12 พบน่าจะมีความผิดปกติทางจิตเวช (ร้อยละ 31.9) อุบัติเหตุที่มิใช่จากการทำงานที่พบบ่อย เป็นอุบัติเหตุจากยานพาหนะทางบก (ร้อยละ 3.4) อุบัติเหตุจากการทำงานเกิดเข็มตำ (ร้อยละ 5.5) การเกือบเกิดอุบัติจากการทำงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 9.4) หลับใน, ไม่มีสมาธิขณะทำงาน ข้อมูลการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 86.3) มีความรู้สึกว่าหลังจากทำการรักษาผู้ป่วยไปแล้วยังมีวิธีอื่นที่เหมาะสมเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง ปัจจัยที่เป็นสาเหตุมาก ได้แก่ ภาระงานของแพทย์หนักเกินไป, รู้สึกอ่อนเพลียหรือเหน็ดเหนื่อย, มีความรู้แต่ขาดประสบการณ์, โรคเรื้อรัง/ซับซ้อนของผู้ป่วย เหตุการณ์ที่เกือบจะรักษาผิดพลาดสาเหตุส่วนใหญ่ ไม่ได้ระบุปัญหาเรื่องใบสั่งยาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81.5) เคยเกิดปัญหาในการสั่ง สำหรับสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขนาดยาผิด จากการเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาล ด้านใบสั่งยาพบว่า ส่วนใหญ่เกิดจาก ชื่อยาไม่ชัดเจน,การสั่งยาผิด ขนาดและวิธีใช้, ไม่ระบุความแรงซึ่งพบว่าใกล้เคียงกับการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง โดยสรุป จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า ปัญหาชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไปของแพทย์จบใหม่และปัญหาการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย นับเป็นปัญหาที่ควรให้ความสำคัญและการแก้ไขในปัญหาดังกล่าว |
|
dc.description.abstractalternative |
This study is aimed at determining the effects of extended work hours on the health of interns and potential hazards to patients. A cross-sectional survey was conducted during April -September 2004 among 460 interns. Data was collected through self-administrated questionnaire and prescriptions from selected hospitals. A total of 329 interns participated in the study (158 males and 171 females), with a participation rate of 71.5 percent. Results showed that 33.4% of the interns worked (off official hour) 41-60 hours per week, 55.6% had attention failure the following day. All interns who worked (off official hour) more than 80 hours per week often experienced fatigue and 74.7% complained about their workload. In terms of the health of the interns, 76.6% had no underlying disease. However, among those who had diseases, 56% were found to have respiratory disease. In a period of 6 months prior to the survey, 75.4% were found to have upper respiratory tract infection. In terms of the interns' sleep duration, 51.2% slept 4-6 hours per day, while 31.9% was found to be abnormal on mental health test (Thai GHQ-12). Accidents which were not work related, 3.4% of the interns experienced motor vehicle crashes. Of work-related accidents, 5.5% were needle stick injuries. Near-miss accident was 9.4% which was due to attention failure and no concentration. There were 86.3% reported cases related to at least a single mistreatment caused by high workloads, fatigue, lack of experience, and complication of patients' disease. The most common cause of near-miss treatments were not identified. Reviewing the prescriptions revealed that 81.5% of prescribing errors were incorrect dose, related to the hospital's unclear drug name, in addition to incorrect and unidentified dosage similar to questionnaires. In conclusion, his study shows that extended work hours of interns and patient hazard are problematic in Thailand and need attention from concerned authorities. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
คุณภาพชีวิตการทำงาน |
en_US |
dc.subject |
แพทย์ -- สุขภาพและอนามัย |
en_US |
dc.subject |
ผู้ป่วย -- การดูแล |
en_US |
dc.subject |
Quality of work life |
en_US |
dc.subject |
Physicians -- Health and hygiene |
en_US |
dc.subject |
Care of the sick |
en_US |
dc.title |
ผลของการทำงานล่วงเวลาต่อสุขภาพแพทย์จบใหม่และอันตรายต่อผู้ป่วย |
en_US |
dc.title.alternative |
Effects of extended work hours on intern health and patient hazard |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
อาชีวเวชศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Pornchai.Si@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|