Abstract:
งานวิจัยเชิงสำรวจโดยการสัมภาษณ์ชาวประมงทะเลกลุ่มตัวอย่าง ประเภทที่ใช้เรือมีเครื่องยนต์ภายใน เรือ และนำเรือมาเทียบท่าที่ท่าเรือแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ชาวประมงกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น ลูกเรืออวนลากคู่ เพศชาย ชาวพม่า อยู่ในวัยแรงงาน สถานภาพสมรสโสด มีอัตราอุบัติการณ์การบาดเจ็บจาก การทำงาน 43.67 คน 100 คน/ปี เป็นชนิดรุนแรง 23.00 คน/100 คน/ปี และชนิดไม่รุนแรง 27.33 คน/ปี การบาดเจ็บมักเกิดขึ้นที่ บริเวณหัวเรือ ช่วงเวลาหัวค่ำ ในฤดูร้อน ลักษณะงานที่ทำขณะเกิดการบาดเจ็บส่วน ใหญ่เป็น งานกู้อวน เกิดจากการลื่นสะดุดหกล้ม ตัวการคือ เครื่องมืออุปกรณ์ทำการประมง มักเกิดเป็นแผล ฉีกขาดบริเวณมือ ปัจจัยเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการทำงานที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ เป็นชาวต่างด้าวสถาน ภาพสมรสที่ไม่โสด รายได้และระดับการศึกษาที่ต่ำกว่า การดื่มสุราขณะทำงาน การทำงานที่ท่าเรือขนาดเล็ก สภาพเรือที่สมบูรณ์ การมีกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความรำคาญ พื้นที่การทำงานมีการเคลื่อนไหวโคลงเคลงเกือบตลอดเวลา การทำงานบนพื้นลื่น การทำงานบนพื้นเอียง การทำงานในที่อากาศร้อนจัด การที่มีวัตถุสิ่งของพุ่งชนได้ การทำงานในที่อากาศเย็นจัด การที่มีพายุฝนฟ้าคะนองขณะทำงาน การเคลื่อนย้ายยกของด้วยทำทางที่ไม่ถูกต้อง การลงไปในทะเลโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิต และการไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการป้องกันการลื่นหกล้ม โดยเฉพาะงานกู้อวน เช่น การปูพื้นเรือด้วยแผนยางกันลื่อ การขัดพื้นเรือให้แห้ง การใช้ถุงมือป้องกันของมีคมอย่างเข้มงวด การสำรวจความปลอดภัยก่อนการทำงาน บริเวณหัวเรือตามแบบอนุสัญญามาพอล (MARPOL 73/78) ในประเด็นสภาพการทำงานและสุขอนามัยในเรือ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความปลอดภัยในการทำงานเป็นภาษาต่างด้าว