Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการงินกับผลตอบแทนของหุ้น เปรียบเทียบความสำคัญของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อผลตอบแทนของหุ้นและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินที่บรัษัทเปิดเผยในแบบ 56-1 กับผลตอบแทนของหุ้นกับ ความสำพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินที่ผู้วิจัยคำนวนจากข้อมูลที่เปิดเผยในงบการเงินกับผลตอบแทนของหุ้น โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่ายและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของหุ้นในรูปแบบสมการ Exponential ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากยอดขาย อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราส่วนหุ้นส่วนต่อ ส่วนผู้ถือหุ้นที่บริษัทเปิดเผยและที่ผู้วิจัยคำนวนได้ และอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือที่บริษัทเปิดเผย แสดงว่า เมื่ออัตราส่วนทางการเงินเพิ่มขึ้นในช่วงแรกจะส่งผลให้ผลตอบแทนของหุ้นค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และเมื่ออัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลให้ผลตอบแทนของหุ้นเพิ่มมากขึ้นในสัดส่วนที่สูงกว่าในช่วงแรก ส่วนอัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนหุ้นในรูปแบบสมการ Logarthmic ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่บริษัทเปิดเผยและที่ผู้วิจัยคำนวนได้ และอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือที่ผู้วิจัยคำนวนได้ แสดงว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวส่งผลให้ผลติบแทนของหุ้นเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูงในช่วงแรก และหารอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่คงที่ จะส่งผลให้ผลตอบแทนของหุ้นเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ลดลง ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่าอัตราผลตอบแทนจากยอดขาย และอัตราการหมุนเวียน ของสินค้าคงเหลือมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของหุ้นสูงกว่าอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ และพบว่าอัตรา ส่วนทางการเงินที่บริษัทเปิดเผย สามารถอธิบายผลตอบแทนของหุ้นได้สูงกว่าส่วนทางการเงินที่ผู้วิจัยคำนวณ จากข้อมูลในงบการเงิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนมีความเชื่อถือข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยมากกว่าการที่นักลงทุนนำข้อมูลจากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์เอง