Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความกลัวปกติ รวมทั้งทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความ กลัวปกติในด้านต่าง ๆ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร มีอายุ 7 – 18 ปี จำนวน 915 คน และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มอายุ คือ เด็กเล็ก เด็กโต และวัยรุ่น ทำการวิจัยโดยใช้ “แบบสำรวจความกลัวสำหรับเด็กและวัยรุ่นไทย” วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด โดยใช้สถิติ Factor Analysis, Two – Way ANOVA, Discriminant Analysis, และ Frequency Distribution ผลการวิจัย พบว่า 1.ความกลัวปกติของเด็กและวัยรุ่นไทยกรุงเทพมหานครจัดเป็นกลุ่มความกลัวได้ 5 กลุ่ม คือ “การกลัว ความตาย และสิ่งที่อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต” “การกลัวคน สัตว์ หรือสิ่งที่ไม่น่าไว้ใจ” “การกลัวผี สิ่งที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว หวาดเสียว หรือไม่สบายใจ” “การกลัวภาวะกดดันทางจิตใจ การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม และความล้มเหลวพ่ายแพ้” และ “การกลัวการถูกตำหนิติเตียน หรือลงโทษ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว” 2.เด็กหญิงรายงานว่า มีระดับความกลัว และจำนวนสิ่งที่กลัวมากกว่าเด็กชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ส่วนใหญ่กลุ่มอายุโดยรวมแล้ว พบว่า ปริมาณความกลัวลดลงในกลุ่มที่อายุเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<.05) และไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างเพศและกลุ่มอายุ 3.ความกลัวเฉพาะเด็กหญิง ที่เด็กชายมักไม่ค่อยกลัวมี 11 อย่าง อันดับที่ 1 คือ “คนโรคจิต คนบ้า กาม พวกที่ชอบลวนลามร่างกายผู้อื่น พวกถ้ำมอง” ส่วนความกลัวเฉพาะเด็กเล็กที่วัยรุ่นมักไม่ค่อยกลัวมี 3 อย่าง โดยอันดับที่ 1 คือ “การที่ตนเองพลัดหลงในฝูงชน” 4.ความกลัวที่พบมากที่สุด ในกลุ่มตัวอย่างโดยรวม และในกลุ่มย่อย พบว่า อันดับที 1 คือ “การที่ ตนเองต้องสูญเสียอวัยวะ พิการ อัมพาต ช่วยเหลือตนเองไม่ได้” ยกเว้นในกลุ่มเด็กเล็กที่กลัว “น้ำท่วมโลก ดวงอาทิตย์ดับ อุกกาบาตพุ่งชนโลก โลกแตก” เป็นอันดับที่ 1