dc.contributor.advisor | ดุษฎี ชาญลิขิต | |
dc.contributor.advisor | มานพ พงศทัต | |
dc.contributor.author | ทรงชัย ทองปาน | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-07-16T07:47:30Z | |
dc.date.available | 2020-07-16T07:47:30Z | |
dc.date.issued | 2543 | |
dc.identifier.isbn | 9743464883 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67105 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อนำเสนอวิธีการในการนำเอาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการประเมินราคาที่ดิน โดยมิวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการคือ เพี่อศึกษารูปแบบการประเมินราคาที่ดินในปัจจุบันซึ่งทำการศึกษาเฉพาะการประเมินราคาของกรมที่ดิน ธนาคาร และบริษัทเอกชนโดยศึกษาจากเอกสารและรายงานต่าง ๆ ตลอดจน สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ที่สองมิจุดมุ่งหมายเพี่อสร้างแบบจำลองเพี่อการประเมินราคาที่ดินซึ่งแบบจำลองดังกล่าวได้แก่ แบบจำลองปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยในเขตเมืองโดยศึกษาจากความเห็นของผู้ประเมินราคาซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยจำนวน 200 คนต่อปัจจัยที่มิผลต่อมูลค่าที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยในเขตเมืองจำนวน 24 ปัจจัยด้วยวิธีการใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวัตถุประสงค์สุดท้ายเพี่อ นำฐานข้อมูลภูมิศาสตร์มาใช้ในการประเมินราคาที่ดินโดยศึกษาเฉพาะกรณีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มิผลต่อมูลค่าที่ดินซึ่งเป็นผลจากการศึกษาในวัตถุประสงค์ที่สอง ผลที่ได้จากการวิจัยทำให้ทราบว่า การประเมินราคาของกรมที่ดิน ธนาคารและบริษัทเอกชนส่วนใหญ่เป็นการประเมินราคาโดยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาดซึ่งเป็นวิธีการที่เปรียบเทียบแปลงที่ดินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มราคาเดียวกันนอกจากนี้จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ผู้ประเมินราคาเห็นว่ามีผล ต่อมูลค่าที่ดินมากถึงมากที่สุดมีจำนวน 14 ปัจจัยเรียงตามลำดับความสำคัญได้แก่ ปัจจัยประเภททางเข้าออก ย่านการใช้ที่ดิน ไฟฟ้า ประปา รูปร่างแปลงที่ดิน ความกว้างด้านหน้าแปลงที่ดิน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พระราชบัญญัติผังเมือง เนื้อที่แปลงที่ดิน ความกว้างถนน ผิวถนน โทรศัพท์ ท่อระบายนํ้า และความลึกแปลงที่ดิน และเมื่อนำเอา ฐานข้อมูลภูมิศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัจจัยดังกล่าวโดยมีขั้นตอนในการนำมาใช้ 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูลและการนำเข้าข้อมูล ขั้นตอนในการกำหนดเกณฑ์ในการวัดและค่านํ้าหนักปัจจัย ขั้นตอนในการค้นคืนข้อมูลจากฐานข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีจำแนกใหม่พร้อมพร้อมกำหนดค่าน้ำหนักปัจจัยลงในฐานข้อมูล และขั้นตอนสุดท้ายได้แก่ ขั้นตอนในการแสดงผลข้อมูลในรูปของแผนที่ระวางที่ดินเชิงเลข ผลจากการศึกษาพบว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทำให้การประเมินราคาที่ดินมิความน่าเชื่อถือและมีความถูกต้องมากขึ้นซึ่งกลยุทธ์นี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ แก้ไข และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการประเมินราคาที่ดินได้เป็นอย่างดี | |
dc.description.abstractalternative | The object of the research is to present the capability of a geographic information system (GIS) in conducting Land valuation. The object of the thesis fulfills three main parts. Firstly, patterns of present land valuation performed by Department of Lands (DOLs), commercial and governmental banks, and private firms were examined including interviewing related persons. Secondly, a proposed land valuation model was established and tested by two hundred members of the Value Association of Thailand (VAT) to seek solutions resulted from twenty-four factors, concerning urban residential landuse using questionnaires. Lastly, the application of GIS and its geographic database was exercised to assess land value and analyze the factors related to land value. From the attitude survey on land valuation, manipulated by majority of the DOLs, banks and private firms is assessed by means of market comparison approach. Whereas land parcels of the same size and situated in the same environment and neighborhood will be classified as the same category. The study also leads to the conclusion that there are fourteen factors which play a major role in land valuation process such as accessibility of land, land use pattern, availability of electricity and water supply, lot shape, frontage length of lot, Building Control Act, City Planning Act, area of lot, width of street, street surface, telephone, sewage system, and depth of lot. เท addition, GIS has been applied to analyze all of the factors. The analysis procedures are divided into four parts: data input and database design, measurement and weighting criteria, data retrieval and reclassification, and data display in terms of digital cadastral maps. They yield more reliable and accurate than the existing maps produced by the DOLs. In summary the proposed strategy provides promising capabilities for data capturing, editing and analyzing in land valuation. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | การประเมินราคาที่ดิน | |
dc.subject | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ | |
dc.title | ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการประเมินราคาที่ดิน | |
dc.title.alternative | Geographic information system for land valuation | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | ภูมิศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |