Abstract:
งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อทําการศึกษาความสามารถในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ รายตัวในแต่ละอุตสาหกรรมตามตัวแบบ three-factor model โดยเปรียบเทียบจากวิธีการสร้างตัวแบบ ซึ่งแตกต่างกัน คือตัวแบบซึ่งสร้างโดยแยกแต่ละอุตสาหกรรม ตัวแบบซึ่งสร้างโดยแบ่งออกเป็นปัจจัย ภายในอุตสาหกรรม กับปัจจัยนอกอุตสาหกรรม และตัวแบบซึ่งสร้างโดยรวมทุกอุตสาหกรรม พร้อมทั้ง ทําการเปรียบเทียบความสามารถในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ระหว่างตัวแบบซึ่งพิจารณา ปัจจัยจากประเทศ กับตัวแบบซึ่งพิจารณาปัจจัยจากอุตสาหกรรม งานวิจัยชิ้นนี้วัดความสามารถในการ อธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ในตัวแบบต่างๆ จากการทดสอบสมมติฐานที่ว่าค่าอัตราผลตอบแทนไม่ ปกติ (intercept) จะต้องเป็นศูนย์พร้อมกันในทุกกลุ่มการลงทุน ซึ่งการทดสอบสมมติฐานนี้จะใช้ค่า Fstatistics ที่คํานวณตามวิธีของ Gibbons, Ross and Shanken (1989) ในการทดสอบ ในกรณีที่ สมมติฐานข้างต้นไม่สามารถพิจารณาหาตัวแบบที่ดีที่สุดได้ งานวิจัยนี้จะวัดความสามารถในการอธิบาย ผลตอบแทนหลักทรัพย์ในตัวแบบต่างๆจากค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนไม่ปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษาคือบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2546 ผลการศึกษาตัวแบบซึ่งพิจารณาปัจจัยจากประเทศ พบว่าตัวแบบที่สามารถอธิบาย ผลตอบแทนหลักทรัพย์ได้ดีที่สุดคือ ตัวแบบที่สร้างโดยแบ่งออกเป็นปัจจัยในประเทศ และปัจจัยนอก ประเทศ ซึ่งตัวแบบดังกล่าวกําหนดให้ผลตอบแทนหลักทรัพย์ในประเทศหนึ่งๆ ได้รับผลกระทบจาก ปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยภายนอกประเทศไม่เท่ากัน ในขณะที่เมื่อทดสอบตัวแบบซึ่งพิจารณา ปัจจัยจากอุตสาหกรรม พบว่าตัวแบบที่สร้างโดยรวมทุกอุตสาหกรรม เป็นตัวแบบที่ดีที่สุดในการอธิบาย ผลตอบแทนหลักทรัพย์ และเมื่อนําผลการทดสอบทั้ง 2 ปัจจัยมาเปรียบเทียบกันพบว่า ปัจจัยจาก ประเทศสามารถอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ได้ดีกว่าปัจจัยจากอุตสาหกรรม จากผลการทดสอบ ข้างต้นทําให้สามารถสรุปได้ว่า การจัดสรรเงินลงทุนไปในประเทศต่างๆ สามารถกระจายความเสี่ยง (diversification) ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า การจัดสรรเงินลงทุนไปในอุตสาหกรรมต่างๆ