Abstract:
การศึกษาเรื่อง “การเคลื่อนย้ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะและปัญหาการเคลื่อนย้ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความจําเป็นในการมีระบบการโอนย้ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนเสนอรูปแบบที่เหมาะสมในการเคลื่อนย้ายทรัพยากรบุคคลของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้วิจัยได้คัดเลือกจังหวัดนนทบุรีเป็นพื้นที่ในการศึกษา เพราะมีอัตราการเคลื่อนย้ายสูงที่สุด ระหว่างปี 2544 - 2547 โดยทําการเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างกลุ่มตัวอย่างจํานวน 30 คน และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานส่วนท้องถิ่นโดยใช้แบบสอบถามจํานวน 240 ชุด โดยทําการศึกษาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547 ถึงเดือนธันวาคม 2548 ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่วนท้องถิ่นร้อยละ 65 เคยยื่นความจํานงในการขอโอนย้าย ในจํานวนนี้ส่วนใหญ่เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นในตําแหน่งระดับ 1 - 3 การโอนย้ายเป็นการโอนย้ายระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทและระดับเดียวกันหรือระดับสูงกว่า โดยใช้แหล่งข้อมูลจากพนักงานส่วนท้องถิ่นที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการสอบถามจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ที่มีความสนใจ ทั้งนี้การขอโอนย้ายร้อยละ 89.70 ได้รับการอนุมัติ และสาเหตุส่วนใหญ่ในการขอโอนย้ายของพนักงานส่วนท้องถิ่น คือการกลับภูมิลําเนาเดิมของตนเอง และการดูแลบิดาและ/หรือมารดา ปัญหาในการเคลื่อนย้ายพนักงานส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย (1) พนักงานส่วนท้องถิ่นเข้าไปปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก เพื่อเป็นทางผ่านไปทํางานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก และขนาดกลางประสบปัญหาจากการมีอัตราการโอนย้ายในระดับสูง (3) ขั้นตอนการโอนย้ายมีความยุ่งยาก หลายขั้นตอน และใช้เวลานานในการขอโอนย้าย (4) อํานาจการตัดสินใจอนุมัติการ โอนย้ายอยู่ ที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (5) การใช้อํานาจของคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดในการ จัดการโอนย้าย และ (6) การแทรกแซงการ โอนย้ายจากการเมืองระดับชาติ เพื่อเป็นฐานคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ผู้วิจัย มีข้อเสนอในการลดการโอนย้าย คือ การกําหนดระยะเวลาขั้นต่ําในการทํางานของพนักงานส่วน ท้องถิ่น และการกําหนดภูมิลําเนาของผู้สมัคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่จําเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนการโอนย้ายสําหรับพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อไม่ให้พนักงานส่วนท้องถิ่นใช้เป็นช่องทางในการแสวงหา ประโยชน์ให้แก่ตนเอง โดยองค์การ ไม่ได้รับประโยชน์