Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ความสิ้นหวังของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุและ2)ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ เพศความเชื่อและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ประสบการณ์ความเครียดในชีวิตภาวะซึมเศร้าความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และความสิ้นหวังของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปคัดเลือกโดยสุ่มอย่างง่ายที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรีโรงพยาบาลมะการักษ์ และโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จำนวน 156 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินประสบการณ์ความเครียดในชีวิต 3) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย4) แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและ 6) แบบประเมินความสิ้นหวังของผู้สูงอายุเครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา Content Validity Index CVI >.80)โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน5 ท่าน และความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค(Cronbach’s alphacoefficient)ของเครื่องมือชุดที่ 2-6 เท่ากับ.85, .79, .78, .73และ .77ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์อีตาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่าความสิ้นหวังในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง( =15.87, ±SD = 5.40)ประสบการณ์ความเครียดในชีวิตความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับความสิ้นหวังในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ(r = -.200,p < .05, r = -.581,r = -.481,p < .01ตามลำดับ)ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความสิ้นหวังในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ(r = .670,p < .01)