Abstract:
ผลิตภัณฑ์เนื้อปลาแช่แข็งและปูกระป๋องเป็นผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยมูลค่าการส่งออกเนื้อปลาแช่แข็งของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่วนปูกระป๋องประเทศไทยจัดประเทศผู้ส่งออกปูกระป๋องรายใหญ่ ประเทศหนึ่งของโลก ดังนั้นการศึกษาครงนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาวิเคราะห์ถึงความสามารถในการแข่งขันของการล่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อปลาแช่แข็งและปูกระป๋องของไทย ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกโดยใช้แบบจำลองส่วนแบ่งตลาดคงที่พบว่ามูลค่าการส่งออกเนื้อปลาแล่แช่แข็งของไทยในช่วงปี พ.ศ.2534-2540 เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากผลของการขยายตัวของตลาดโลกเป็นสำคัญ แต่ในช่วงหลังจากที่ประเทศไทยลดค่า เงินบาทคือในช่วงปี พ.ศ.2540-2541 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนมูลค่าการส่งออกเนื้อปลาอื่นๆ (นอกเหนือจากเนื้อปลาแล่)แช่แข็งของไทยในช่วงปี พ.ศ.2534-2540 เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากผลของการขยายตัวของ ตลาดโลกเป็นสำคัญ แต่ในช่วงปี พ.ศ.2540-2541 มูลค่าการส่งออกลดลงเนื่องมาจากผลจากทิศทางการเช้าสู่ตลาดเป็นสำคัญ สำหรับมูลค่าการส่งออกปูกระป๋องของไทยในช่วงปี พ.ศ.2534-2540 และ พ.ศ.2540-2541 เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริงเป็นสำคัญ ผลการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาในช่วงปี พ.ศ.2534-2542 ของการส่งออกเนื้อปลาแล่แช่แข็งในตลาดญี่ปุ่นและปูกระป๋องในตลาดสหรัฐอเมริกาพบว่าประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งแต่ความสามารถ ในการแข่งขันด้านราคามีแนวโน้มลดลง ในขณะที่เนื้อปลาอื่นๆ แช่แข็งของประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในตลาดญี่ปุ่นยกเว้นเพียงปี พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2537 และหลังจากปี พ.ศ.2537 เป็นด้นมาความสามารถในการแข่งขันด้าน ราคาของเนื้อปลาอื่นๆ แช่แข็งของไทยกลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อปลาแช่แข็งของไทยในตลาดญี่ปุ่นพบว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเนื้อปลาแล่แช่แข็งของไทยโดยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ.2534-2542 เพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากปริมาณและราคามีอัตราการขยาย ตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเนื้อปลาอื่นๆ แช่แข็งของไทยโดยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ.2534-2542 ลดลงเป็นผลมาจากอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยของราคาลดลง และผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกปูกระป๋องของไทยในตลาดสหรัฐ อเมริกาพบว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกปูกระป๋องของไทยโดยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ.2534-2542 เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการที่ทั้งปริมาณและราคามีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในการศึกษายังได้ทำการประมาณค่าแบบจำลองมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อปลาแช่แข็งของไทยในตลาดญี่ปุ่นและปูกระป๋องของไทยในตลาดสหรัฐอเมริกาในช่วงไตรมาสแรกของปีพ.ศ.2534 ถึงไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2540 และช่วงหลังจากที่ประเทศไทยลดค่าเงินบาทคือช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2540 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2542