DSpace Repository

ความพึงพอใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในงานของเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัมพล สูอำพัน
dc.contributor.author วัลลภา วีรปกรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-07-30T03:14:04Z
dc.date.available 2020-07-30T03:14:04Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741432372
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67282
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความพึงพอใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในงานของเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของปัจจัยในหน่วยงาน แบบสอบถามความภาคภูมิใจในตนเอง และแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในงานของเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน ด้วยสถิติ t-test, ANOVA และ Pearson product moment correlation coefficient ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เป็นความพึงพอใจของปัจจัยแวดล้อมในการทำงาน ร้อยละ 87.3 ความภาคภูมิใจในตนเอง ร้อยละ 52 และความพึงพอใจในงาน ร้อยละ 63.7 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับดีมาก เรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านความมั่นคงในงาน ร้อยละ 52.9 และด้านลักษณะงานที่ทำ ร้อยละ 51 เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านนโยบายและการบริหาร ร้อยละ 71.6 ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ร้อยละ 63.7 ด้านความรับผิดชอบ ร้อยละ 56.9 และ ด้านโอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 52.9 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน ได้แก่ เพศชาย ระดับความพึงพอใจของปัจจัยแวดล้อมในการทำงาน และระดับความภาคภูมิในใจตนเอง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความพึงพอใจในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.01 และ 0.05 en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this cross sectional descriptive study are to survey job satisfaction and other related factors in Bureau of Supporting Industries Development. The sample size are 102 officer in Bureau of Supporting Industries Development. The research instruments are Questionnaires to personal form, organization satisfactory form, personal pride and job satisfaction. The data was analyzed by using SPSS software for percentage, Mean, Standard deviation, t-test, ANOVA and Pearson product moment correlation coefficient. The results were indicated that the job satisfaction of Bureau of Supporting Industries Development officer is in the medium level, including 87.3% for organization satisfactory form, 52% for personal pride and 63.7% for job satisfaction. Considering each aspect of job satisfaction. The data showed the high level as the following : 52.9% for work stability and 51% for work characteristics. The subjects showed the medium level as the following : 71.6% for policy and management, 63.7% for security, 56.9% for responsibility and 52.9% for work prosperity. There were other relevant factors such as male gender, level working environment and level personal pride had the positive correlation with level job satisfaction at the 0.01 and 0.05 level of significant. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน en_US
dc.subject ความพอใจในการทำงาน en_US
dc.subject Job satisfaction en_US
dc.title ความพึงพอใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในงานของเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน en_US
dc.title.alternative Job satisfaction and related factors among officers in bureau of supporting industries development en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Umpon.S@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record