Abstract:
แนวความคิดในการควบคุมการลงทุนด้วยหนี้ หรือการจัดตั้งบริษัทด้วยเงินทุนจดทะเบียนตํ่าซึ่งเรียกว่า “การตั้งทุนตํ่า” นั้น ยังไม่ปรากฎแนวทางที่ชัดเจน ในการวิจัยผู้เขียนได้ศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติประมวลรัษฎากร คำพิพากษาฎีกา หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร รายงานเกี่ยวกับการตั้งทุนตํ่าขององค์การ เพื่อการประสานงานและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) รวมถึงบทบัญญัติควบคุมการตั้งทุนตํ่าของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้คล้ายคลึงกับประเทศไทย เพื่อวางกรอบแนวความคิดเกี่ยวกับการควบคุมการตั้งทุนตํ่า โดยในการศึกษานี้ จำกัดประเด็นการศึกษาลงเพียงเฉพาะหลักกฎหมายภาษีเงินได้เท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ การกำหนดอัตราส่วนหนี้ต่อทุนทางบัญชีเพื่อควบคุมการตั้งทุนตํ่าแต่อย่างไร จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติประมวลรัษฎากรขาดความเปีนกลางระหว่างการ ลงทุนด้วยหนี้กับหุ้นทุน อีกทังส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในรูปของหนี้ยิ่งกว่าหุ้นทุน เนื่องจากภาระภาษีที่แท้จริงของการลงทุนด้วยหนี้ตํ่ากว่าหุ้นทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กล่าวคือ การลงทุนด้วยหนี้มีภาระภาษีที่แท้จริงเพียงร้อยละ 15 หรือ ร้อยละ 10 หากมีอนุสัญญาภาษีซ้อน ส่วนการลงทุนด้วยหุ้นทุนมีภาระภาษีที่แท้จริงร้อยละ 37 คือ ภาษีระดับบริษัทร้อยละ 30 และระดับผู้ถือหุ้นอีกร้อยละ 10 ของเงินปันผล (ซึ่งเท่ากับอัตราแท้จริงร้อยละ 7 ของกำไร บริษัทที่เป็นฐานของเงินปันผลที่จ่าย) ยิ่งกว่านี้ ดอกเบี้ยเงินกู้เป็นรายจ่ายลดหย่อนภาษีในขณะที่เงินปันผลจ่ายให้ผู้ถือหุ้นมิใช่รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี อันเป็นอุปสรรคในการลงทุนด้วยหุ้นทุนและเป็นสิ่งจูงใจให้ลงทุนด้วยหนี้หรือตั้งทุนตํ่า จากปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนได้นำเสนอวิธีขจัดความเหลื่อมลํ้าทางภาษีอากรจากการลงทุนด้วยหนี้กับหุ้นทุน โดยนำบทบัญญัติควบคุมการดังทุนตํ่ามาบังคับใช้เฉพาะหนี้ต่างประเทศ ส่วนกรณีหนี้ในประเทศปรับเปลี่ยนให้ภาระภาษีหนี้เท่ากับหุ้นทุน โดยยกเลิกการให้สิทธิเลือก เสียภาษีดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 แต่ต้องนำดอกเบี้ยรับมารวมคำนวณกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษีอัตราก้าวหน้า สูงสุดร้อยละ 37 ทั้งนี้เพื่อให้บทบัญญัติประมวลรัษฎากรมีความเป็นกลางระหว่างการลงทุนด้วยหนี้และหุ้นทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ