Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความล้มพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประชากรตัวอย่างกับระดับความพึงพอใจใสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยของตนในปัจจุบัน ข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ใช้ข้อมูลของโครงการสำรวจครอบครัวไทย ซึ่งเป็นการสำรวจประชากรในระดับประเทศทั้งเขตชนบทและเขตเมืองเมื่อปี พ.ศ.2537 จำนวน 3,237 ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังได้รวบรวมแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์รวมพังจัดทำแบบจำลองแนวคิดในการศึกษาไว้ด้วย ผลการศึกษาพบประเด็นที่น่าสนใจคือมีข้อมูลทางสถิติที่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าประชากรชายหญิงของประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ว่าจะอยู่ในเขตชนบทหรือเขตเมืองก็ตามมีความพึงพอใจกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของตนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามก็ยังปรากฏความแตกต่างในระดับความพึงพอใจในแต่ละกลุ่มเช่นกัน ผลการศึกษาจากข้อมูลสถิติ แสดงให้เห็นว่ามีความล้มพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระบางตัว แปรกับระดับความพึงพอใจของประชากรตัวอย่างและเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยค่าไคสแควร์พบว่าอายุ อาชีพ ระดับการศึกษา การมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหรือที่ดิน ลักษณะของที่อยู่อาศัยปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่น ปัญหานํ้าเสีย ปัญหาเสียงดัง ปัญหาขยะมูลฝอย ความรบกวนจากเพื่อนบ้านและระยะเวลาเดินทางจากบ้านถึงที่ทำงาน เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับเท่ากับหรือตํ่ากว่า 0.05 เมื่อนำข้อมูลชุดนี้มาการวิเคราะห์ด้วยวิธีการจำแนกพหุ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความพึง พอใจในสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมของเพื่อนบ้าน ปัญหานํ้าเสีย ปัญหาเสียงดังและปัญหาขยะมูลฝอย