DSpace Repository

มาตรการการค้าเสรีและการคุ้มครองทางการค้า : กรณีศึกษา กฎระเบียบ นโยบายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor กมลินทร์ พินิจภูวดล
dc.contributor.advisor เขมทัต สุคนธสิงห์
dc.contributor.author ทิพย์วรรณ วรรณโสภณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-05T04:02:47Z
dc.date.available 2020-08-05T04:02:47Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741307381
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67377
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจของโลกดำเนินอยู่ภายใต้กรอบของการเปิดเสรีทางการค้า แต่อนุญาตให้ใช้การคุ้มครองทางการค้าได้ในบางกรณี อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว และเนื่องจากนโยบายและกฎระเบียบของรัฐเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการล่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยที่เพียงพอ เช่น เรื่องภาษี แรงงาน การวิจัย จึงสมควรทำการศึกษาเพื่อระบุข้อบกพร่องและจุดอ่อนของนโยบายและกฎหมายของรัฐดังกล่าวเพื่อหาข้อเสนอแนะ การศึกษาได้แยกปัญหาออกเป็น 3 ด้าน คือ การประกอบกิจการโรงงาน, กระบวนการผลิต, และกระบวนการจัดจำหน่าย ผลการศึกษาที่สำคัญปรากฏว่า แรกเริ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ใต้รับการคุ้มครองและภายหลังเปิดเสรีทางการค้าโดยขาดการเตรียมความพร้อม มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อเอื้อต่อการจูงใจนักลงทุนต่างประเทศขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์บางรายยังไม่พร้อมต่อการแข่งขัน ทางด้านกระบวนการผลิตรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้เกิดเขตเสรีการค้าอาเซียนโดยเร็วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จและไม่ได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย และทางด้านการจัดจำหน่าย เมื่อส่งออกต้องประสบกับปัญหาเรื่องมาตรฐานสินค้าที่แตกต่างจากในประเทศและเมื่อจำหน่ายในประเทศต้องเผชิญกับการกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ไม่แน่นอน, การแบ่งประเภทรถยนต์มาก และความแตกต่างมากระหว่างอัตราภาษีสูงและตํ่าทำให้ผู้ผลิตรถยนต์บางรายเข้ามามีอิทธิพลในการกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิต ดังนั้น การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้เมื่อรัฐบาลต้องดำรงรักษาให้ผู้แข่งขันมีเป็นจำนวนมาก มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม โดยรัฐบาลสนับสนุนผู้ผลิตรถยนต์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น ให้คำปรึกษา, เสนอแหล่งทุนดอกเบี้ยตํ่า รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และแรงงาน เช่น พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต, พัฒนาฝีมือแรงงงาน นอกจากนี้ยังร่วมมือกับต่างประเทศในการยอมรับเรื่องมาตรฐานซึ่งกันและกัน และ กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตให้ช่วงห่างลดลงโดยมีเฉพาะประเภทรถยนต์หลัก
dc.description.abstractalternative Currently, the world economic system is proceeding under the frame of trade liberalization but, to some extent protection of domestic automobile industry is allowed. The automobile industry in Thailand is one of several industries which are affected by trade liberalization. Since the laws, regulations and policy of the Thai government do not adequately promote the competitiveness of its automobile industry on tax, labor, etc. The purpose of this thesis is to point out shortfalls and weakness of the aforementioned laws, regulations and policy and to make the suggestions. The study classifies problems into 3 categories: factory operation, production process and distribution process. Its important results are: at beginning, the government gave protectionism with the automobile industry and recently it has promoted trade liberalization by regardless of adjustment , some laws were changed to persuade new foreign producers while some domestic producers are still unsuitable for competition. For production process, the government tries to urge trade liberalization in ASEAN rapidly but unsuccessful and does not Increase productivity for the auto-parts industry. For distribution process, the export problems are pertaining to the different product standards and the domestic problems are concerning with the excise tax such as uncertain excise tax rate, many of auto types, much of different excise tax rate, powers of some producers. Therefore, to promote competitiveness of the automobile industry in Thailand, the government must keep many competitors and fair competition in regard to (1) supporting auto producers to increase productivity such as consultation, low interest rate fund (2) increasing productivity of auto-parts producers and labors such as production technology developing, labors’ ability and (3) promoting abroad and domestic distribution by admitting mutual product standards with other countries, decreasing a gap of excise tax rate and defining only main auto types etc.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การค้าเสรี
dc.subject การค้าระหว่างประเทศ
dc.subject อุตสาหกรรมรถยนต์ -- ไทย
dc.title มาตรการการค้าเสรีและการคุ้มครองทางการค้า : กรณีศึกษา กฎระเบียบ นโยบายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย
dc.title.alternative Measures on trade liberalization and protectionism : a case study of laws, regulations and policy pertainning to the automobile industry in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record