Abstract:
จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกรณีของวิกฤตการณ์โคโซโว ค.ศ.1998 และกรณีวิกฤตการณ์อิรัก ค.ศ.2003 แล้วพบว่าทั้งสองกรณีนั้นสหประชาชาติไม่สามารถเข้าไปจัดการในลักษณะเป็นผู้ยับยั้ง หรือแก้ไขปัญหาได้ สหประชาชาติมีบทบาทเพียงการเข้าไปจัดการด้านการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมภายหลังเหตุการณ์ความขัดแย้งได้สิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น บทบาทสำคัญในการจัดการกับวิกฤต การณ์ทั้งสองเหตุการณ์กลับกลายเป็นสหรัฐอเมริกาที่ใช้ความเป็นอภิมหาอำนาจของตนเองในด้านการ ทหารเข้าไปจัดการกับปัญหาดังกล่าวอันเป็นการดำเนินนโยบายฝ่ายเดียว โดยใช้ข้ออ้างที่จะสร้างความชอบธรรมให้ตนเองในการเข้าไปแทรกแซงการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐอเมริกานั้นไม่ได้รับการเห็นชอบจากสหประชาชาติแต่อย่างใด และเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎบัตรสหประชาชาติ และทำลายระบอบการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ดังนั้นสหประชาชาติจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขบทบาทของตนให้เป็นศูนย์กลางด้านการรักษาสันติภาพ และความมั่งคงระหว่างประเทศ สหประชาชาติต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเพื่อเข้าไปจัดการกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากสหประชาชาติยังคงใช้ระบอบการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศด้วยรูปแบบเก่าในโลกใบใหม่แล้ว สหประชาชาติอาจจะต้องพบกับอุปสรรค และเผชิญกับปัญหาใหม่ที่ไม่คาดคิดมาก่อน และเมื่อสหประชาชาติอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถเข้าไปจัดการแก้ไขปัญหาได้ และปล่อยให้ประเทศต่างๆเข้าจัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองแล้วก็จะส่งผลให้เกิดเป็นความเสียหายที่รุนแรงตามมาในสังคมระหว่างประเทศได้