Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งที่จะศึกษารำฉุยฉายพราหมณ์ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ในแง่ของประวิติความเป็นมาและแก่นของรำฉุยฉายพราหมณ์ ตลอดจนกลวิธีการรำฉุยฉายพราหมณ์ จากศิลปิน 3 ท่าน ได้แก่ ส่องชาติ ชื่นศิริ, ทรงศริ กุญชร ณ อยุธยา และพิศมัย วิไลศักดิ้ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ศิลปินผู้เคยแสดงรำฉุยฉายพราหมณ์ การสังเกตแถบบันทึกภาพการแสดงรำฉุยฉายพราหมณ์ของศิลปิน และการรับการถ่ายทอดท่ารำฉุยฉายพราหมณ์จากศิลปิน จากการวิจัยพบว่า เดิมรำฉุยฉายพราหมณ์อยู่ในการแสดงเบิกโรง เรื่อง พระคเณศเลียงา ต่อมานิยมนำรำฉุยฉายพราหมณ์ออกแสดงเป็นการรำเดี่ยว และได้รับความนิยมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องด้วยบทร้องประกอบรำฉุยฉายพราหมณ์มีลักษณะเนี้อหาคำประพันธ์ที่สละสลวยเอื้อต่อการทำบทบาททางนาฏยศิลป์ ท่ารำมีลักษณะของความเป็นผู้-เมีย (ตัวพระ-ตัวนาง) อยู่ในตัวเดียวกัน การแต่งกายมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการแสดงรำฉุยฉายพราหมณ์ งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการศึกษา และวิเคราะห์กลวิธีการรำฉุยฉายชุดอื่นๆ