Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการทดลองในสภาพการใช้งานจริง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและความชื้นของผนังมวลสารมาก (น้ำหนักมากกว่า 195 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) 3 ประเภทในอาคารปรับอากาศ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน (U) ระหว่าง 0.30-0.45 Btu/hr.ft².℉ได้แก่ 1) ผนังอิฐมอญหนา 8 นิ้ว (U =0.41Btu/ hr.ft².℉) ผนังอิฐมอญหนา 8 นิ้วเว้นช่องว่างอากาศ 4 นิ้ว(U =0.30 Btu/hr.ft².℉) 3) ผนังอิฐมอญหนา 8 นิ้วติดฉนวน 3”- EIFS(Exterior Insulation and Finished System) (U =0.057 Btu/hr.ft².℉) การศึกษาพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อน พบว่า ผนังมวลสารมากทั้ง 3 ประเภทมีระยะเวลาการหน่วง เหนี่ยวความร้อน (Time lag) อยู่ระหว่าง 6-8 ชั่วโมง กรณีปรับอากาศ 24 ชั่วโมง อิทธิพลมวลสารมากไม่ติดฉนวน และติดฉนวน 3”- EIFS สามารถลดความแตกต่างอุณหภูมิอากาศภายนอกและภายในช่วงสูงสุดลงได้ ร้อยละ40 และ90 ตามลําดับ กรณีเปิดเครื่องปรับอากาศช่วงเวลา 8:00-18:00 น. ผนังมวลสารมากมีอัตราการถ่ายเทความร้อน สูงสุดของ ผนังอิฐมอญหนา 8 นิ้ว (10-12 Btu/ hr. ft²) ผนังอิฐมอญหนา 8 นิ้วเว้นช่องว่างอากาศ 4 นิ้ว (9-10 Btu/hr.ft²) และ ผนังอิฐมอญหนา 8 นิ้วติดฉนวน 3”. EIFS (5-6 Btu/hr.ft²) ช่วยชะลอการถ่ายเทความร้อนสูงสุดให้เกิดขึ้นในช่วงหลังเวลาการใช้งาน 1 ชั่วโมง กรณีเปิดเครื่องปรับอากาศช่วงเวลา 20:00-6:00 น.ผนังมวลสารมากจะคายความร้อนที่สะสมในช่วงกลางวัน จึงเพิ่มภาระการทำความเย็นในช่วงเริ่มเปิดเครื่องปรับอากาศ โดยมีอัตราการ ถ่ายเทความร้อนสูงสุดของผนังอิฐมอญ 8 นิ้ว (12-13 Btu/hr.ft²) ผนังอิฐมอญ 8 นิ้วเว้นช่องว่างอากาศ 4 นิ้ว (1011 Btu/hr.ft²) และ ผนังอิฐมอญ 8 นิ้วติดฉนวน 3”. EIES (6-7 Btu/hr.ft²) การศึกษาการถ่ายเทความชื้นจากการรั่วซึมของอากาศ พบว่า ผนังอิฐมอญหนา 8 นิ้ว และ ผนังอิฐมอญหนา 8 นิ้ว เว้นช่องว่างอากาศ 4 นิ้ว มีภาระการทำความเย็นจากการรั่วซึมของอากาศเฉลี่ย 1.58 และ1.23 Btu/ hr.fr²ตามลำดับ เมื่อใช้ผนังมวลสารมากติดฉนวน 3” EIFS สามารถลดภาระการทำความเย็นจากการรั่วซึมของอากาศเฉลี่ยลงได้ 1 Btu/ hr.ft² ผลการวิจัยสรุปว่า กรณีปรับอากาศ 24 ชั่วโมง เมื่อไม่พิจารณาภาระการทําความเย็นในช่วงเริ่มเปิด เครื่องปรับอากาศ ผนังที่มีการติดฉนวน 3”.- EIFS ของทุกมวลสาร จะมีภาระการทําความเย็นใกล้เคียงกัน แต่ในกรณีที่มีการเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศพบว่า ผนังมวลสารมากจะมีภาระการทําความเย็นในช่วงเริ่มเปิด เครื่องปรับอากาศ สูงกว่าผนังมวลสารปานกลางและมวลสารน้อย 2 เท่า และ 3 เท่า ตามลําดับ