DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์ต่ออาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรีพร ธนศิลป์
dc.contributor.author เบญจมาศ ตระกูลงามเด่น
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-14T02:55:42Z
dc.date.available 2020-08-14T02:55:42Z
dc.date.issued 2011
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67460
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์ต่ออาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับบริการที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย อโรคยศาล วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร จำนวน 60 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มควบคุมจนครบ 30 ราย แล้วจึงเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากรูปแบบการจัดการอาการของ Dodd et al. (2001) และแนวคิดเกี่ยวกับการสวดมนต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพยาบาลแบบผสมผสาน โดยโปรแกรมประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การประเมินความต้องการและประสบการณ์การรับรู้ของผู้ป่วย 2) การให้ความรู้ในการจัดการอาการปวด 3) การฝึกทักษะการจัดการอาการปวดและการสวดมนต์ 4) การประเมินผล สื่อที่ใช้ในโปรแกรมประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือการจัดการอาการปวดด้วยตนเอง และเครื่องเล่นบันทึกเสียงและเทปบันทึกการสวดมนต์ โดยโปรแกรมและสื่อผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินอาการปวด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบความแปรปรวน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการปวดภายหลังการทดลอง 4 วันและ 7 วันของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อาการปวดภายหลังการทดลอง 4 วันและ 7 วันของกลุ่มทดลอง น้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative This quasi-experimental research aimed to test the effect of symptom management program focusing on praying on pain of terminal cancer patients. Study sample were 60 terminal cancer patients who were treated at Arokayasala Wat Khampramong, Skon Nakhon Province. The subjects were divided into control group and experimental group. The control group received routine nursing care, while the experimental group received routine nursing care and the Symptom Management Program focusing on Praying. The program was based on the Symptom Management Model (Dodd et al., 2001) and praying as part of complementary concepts that comprised of four sessions: a) symptom experience assessment, b) knowledge providing, c) symptom management training and praying, d) evaluation phase. The Wong-Baker face pain rating scale was used to measure the collected data. Furthermore, Independent t-test was used to analyze comparison of data between the two groups. The major findings showed that: 1. The 4 days and 7 days pain of experimental group were significantly lower than those of the control group (p<.05). 2. The 4 days and 7 days posttest pain of the experimental group were significantly lower than that of the pretest phase (p<.05).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ผู้ป่วยระยะสุดท้าย -- การดูแล
dc.subject การสวดมนต์
dc.subject ความเจ็บปวดจากมะเร็ง
dc.subject Terminal care
dc.subject Prayer
dc.subject Cancer pain
dc.title ผลของโปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์ต่ออาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
dc.title.alternative The Effect of symptom management program focusing praying on pain of terminal cancer patients
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record