DSpace Repository

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการปฎิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

Show simple item record

dc.contributor.advisor จินตนา ยูนิพันธุ์
dc.contributor.advisor นรลักขณ์ เอื้อกิจ
dc.contributor.author ระพิณ ผลสุข
dc.date.accessioned 2020-08-14T07:09:59Z
dc.date.available 2020-08-14T07:09:59Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741437528
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67489
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ ความรุนแรงของโรค ความเชื่อด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม ภาวะซึมเศร้า และความพึงพอใจในการบริการ กับความร่วมมือ ในการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มี ประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 150 คน ที่มารับการตรวจที่ แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกหัวใจและหลอดเลือด ของโรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลรามาธิบดี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม ความรุนแรงของโรค แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามความพึงพอใจในการบริการ และแบบสอบถามความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพ ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และจากการหาค่าความเที่ยงเท่ากับ .85, .87, .84, .93 และ .80 ตามลำดับ ยกเว้นแบบสอบถามความรุนแรงของโรค เนื่องจากเก็บข้อมูลจากการวินิจฉัยของแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1.ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพโดยรวมในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่ ในระดับสูงโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.06 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.60) 2. เพศหญิงมีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Eta = .167) และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.83 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.09) 3. ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพในผู้ป่วยหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .310) 4. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำด้าน สุขภาพในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .198) 5. ความรุนแรงของโรคและความพึงพอใจในการบริการไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการปฏิบัติตาม คำแนะนำด้านสุขภาพในผู้ป่วยหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพในผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -376) en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this study was to identified the health recommendations and to study the relationships between sex, severity, health belief model, social support, depression and satisfaction of patients with coronary artery disease. The Subjects were 150 out- patients with coronary artery disease at coronary department in Police Hospital, Rajvithi Hospital, Bhamongkutklao Hospital and Ramathibodi Hospital, selected by a multistage sampling. The instruments used for data collection were the Demographic Data Form, CCS Form, Health Belief Questionnaire, the ENCRICH Social Support Questionnaire, Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D), Satisfaction Questionnaire, and Health Recommendations Questionnaire . The instruments were tested for content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were .85 , .87 , .84 , .93 , .80 respectively but CCS Form was collected by physician diagnosis. Statistical techniques used in data analysis were Pearson's product-moment correlation. The major findings were as follows: 1. Mean scores of adherence to health recommendations of patients with coronary artery disease was 20.06 (SD=2.60) 2. Female variable was related to adherence to health recommendations in patients with coronary artery disease at the level of .05 (Eta =. 167) and mean scores 20.83 (SD=2.09) 3. Health belief variables were to related adherence to health recommendations in patients with coronary artery disease at the level of .05 (r = 310 ) 4. Social support variables were related to adherence to health recommendations in patients with coronary artery disease at the level of .05 (r =. 198 ) 5. There were no statistical correlation between severity and satisfaction with adherence to health recommendations in patients with coronary artery disease. 6. There was negatively statistical correlation between depression and adherence to health recommendations in patients with coronary artery disease at the level of .05 (r = -.376, respectively) en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กล้ามเนื้อหัวใจ -- โรค en_US
dc.subject การแนะแนวสุขภาพ en_US
dc.subject การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย en_US
dc.subject Myocardium -- Diseases en_US
dc.subject Health counseling en_US
dc.subject Patient education en_US
dc.title ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการปฎิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด en_US
dc.title.alternative Selected factors related to adherence to health recommendations of patients with coronary artery disease en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor jintana.y@chula.ac.th
dc.email.advisor Noraluk.U@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record