Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเน้นที่กรณีแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าในประเทศไทย ลักษณะของปัญหาแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายนั้น เป็นปัญหาข้ามชาติ (Transnational Issue) ซึ่งรัฐใดเพียงรัฐหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง การอาศัยกรอบความร่วมมือระดับพหุภาคีโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคที่มีอยู่ จึงเป็นทางเลือกในการดำเนินนโยบายที่สำคัญ โดยการศึกษานี้ใช้กรอบความคิดว่าด้วย Regimes เป็นแนวคิดในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่า โครงสร้างการดำเนินงาน และกลไกของอาเซียน ซึ่งแบ่งสาขาความร่วมมือออกเป็น 3 ลักษณะ อันได้แก่ความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือเฉพาะด้าน ซึ่งรวมเอาประเด็นความร่วมมือด้านอื่น ๆ มารวมไว้ อาทิ สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ไม่ตอบสนองต่อลักษณะของปัญหาแรงงานข้ามชาติที่มีความซับซ้อนของปัญหามากกว่าที่จะจัดลงไปในการแบ่งสาขาของอาเซียนสาขาใดสาขาหนึ่ง เนื่องจากปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบในขอบเขตที่กว้างขวางทั้งในทางสังคม การเมือง ความมั่นคงและเศรษฐกิจ ผลก็คือ อาเซียนไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม ผู้เขียนได้เสนอแนวทางความร่วมมือต่อประเด็นนี้ ในลักษณะการใช้กลไกที่มือปูของอาเซียน หากขยายเป็นรูปแบบของความร่วมมือที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะลักษณะใดลักษณะหนึ่งในกลไกความร่วมมือที่แยกสาขาอย่างซัดเจนในปัจจุบัน หากเป็นความร่วมมือที่สามารถแก้ไขประเด็นปัญหาได้อย่างครอบคลุม ซึ่งความร่วมมือในลักษณะนี้ก็จะเป็นตัวแบบในการร่วมกันแก้ไขปัญหาข้ามชาติอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตด้วย