Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ ผลผลิต ราคาที่เกษตรกรขายได้ มูลค่าการส่งออก และปริมาณการส่งออกของผักและผลไม้ทั้ง 5 ชนิดได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน มะม่วง มะพร้าวอ่อน และสับประรด ซึ่งจำแนกได้ทั้งหมด 20 ตัวแบบด้วยกัน โดยศึกษาเปรียบเทียบวิธีพยากรณ์ 5 วิธี และไค้นำเอาเทคนิค รวมทั้งทฤษฎี ทางสถิติมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอย วิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบคลาสสิค วิธีการปรับให้เรียบแบบเลขชี้กำลัง วิธีบอกซ์และเจนกินส์ และวิธีการพยากรณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรใช้อยู่ปัจจุบัน ว่าวิธีใดเหมาะสมกับข้อมูลที่สุด ซึ่งจะพิจารณาจากค่าเฉลี่ยต่ำสดของเปอร์เซ็นต์ความคาดเคลื่อนสัมบูรณ์ โดยในการศึกษาครั้งนี้ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิระหว่างปี 2525-2541 ผลการศึกษาเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ที่ได้จากวิธีการพยากรณ์ทั้ง 5 วิธี พบว่าตัวแบบสำหรับพยากรณ์โดยส่วนใหญ่เหมาะกับการพยากรณ์โดยวิธีบอกซ์และเจนกินส์ ได้ตัวแบบพยากรณ์ดังต่อไปนี้ 1.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรกรณี: ข้าวโพดฝึกอ่อน คือ ตัวแบบที่ได้จากวิธีการวิเคราะห์การถดถอย 2.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับราคาสินค้าเกษตรกรณี : ข้าวโพดฝึกอ่อน คือ ตัวแบบ ARIMAC 1,1,0)(1,1,0)12 3.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร กรณี : ข้าวโพดฝึกอ่อน คือ ตัวแบบ ARIMA(0,1,1) 4.ตัวแบบพบหารุณ์สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร กรณี : ข้าวโพดฝึกอ่อน คือ ตัวแบบ ARIMA(0,1,1) 5.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตร กรณี : ข้าวโพดหวาน คือ ตัวแบบที่ไค้จากวิธีการ วิเคราะห์การถดถอย 6.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับราคาสินค้าเกษตร กรณี : ข้าวโพดหวาน คือ ตัวแบบที่ได้จากวิธีการปรับให้เรียบสองครั้งแบบเลขชี้กำลัง 7.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรกรณี : ข้าวโพดหวาน คือ ตัวแบบ ARIMA(0.1,1 ) 8.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร กรณี : ข้าวโพดหวาน คือ ตัวแบบ ARIMA(1,1,1)(0,1,1) 12 9.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตร กรณี : มะม่วง คือ ตัวแบบที่ได้จากวิธีการปรับให้เรียบสองครั้งแบบเลขชี้กำลัง 10.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับราคาสินค้าเกษตร กรณี : มะม่วง คือ ตัวแบบที่ได้จากวิธีการวิเคราะห์การถดถอย 11.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรกรณี : มะม่วงคือตัวแบบ ARIMA(0,1,1) (0,1,1)12 12.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรกรณี : มะม่วง คือ ตัวแบบ ARIMA(1,1,1)(0,1,0)12 13.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตร กรณี : มะพร้าวอ่อน คือ ตัวแบบที่ได้จากวิธีการวิเคราะห์การถดถอย 14.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับราคาสินค้าเกษตร กรณี : มะพร้าวอ่อน คือ ตัวแบบ ARIMA(1,1,0)(1,1,0)12 15.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร กรณี : มะพร้าวอ่อน คือ ตัวแบบ ARIMA(1,1,0)(1,1,0)12 16.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร กรณี : มะพร้าวอ่อน คือ ตัวแบบ ARIMA(2,1,0)(1,1,0)12 17. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตร กรณี : สับประรด คือ ตัวแบบที่ได้จากวิธีการปรับให้เรียบสองครั้งแบบเลขชี้กำลัง 18.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับราคาสินค้าเกษตร กรณี : สับประรด คือ ตัวแบบ ARIMA(1,1,0)(0,1,0)12 19.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร กรณี : สับประรด คือ ตัวแบบ ARIM AG,(1,1,1 ) 20.ตัวแบบพยากรณ์สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร กรณี : สับประรด คือ ตัวแบบ ARIMA(0,1,1) (0,1,1)12