Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนอแนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดิน จ.สุพรรณบุรี ให้สอดคล้อง ตามข้อจำกัดและศักยภาพของพื้นที่ บนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน จากการศึกษา แบ่งพื้นที่ในจังหวัดสุพรณบุรีตามลักษณะการตั้งถิ่นฐานของประชากรออกเป็น 2 Zone ได้แก่ Zone 1 อยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน และ Zone 2 อยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน โดย Zone 1 มีศักยภาพทางการเพาะปลูกที่สูงกว่า Zone 2 ซึ่งมีข้อจำกัดด้านลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่สูง สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ทรัพยากรที่ดินและระบบชุมชนในจังหวัดสุพรณบุรี แบ่งได้เป็น 2 ประเด็น คือ ความสอดคล้องระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินกับระบบชุมชน ได้แก่ ชุมชนเกษตรกรรมใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม และความขัดแย้งระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินกับระบบชุมชน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภท ได้แก่ การเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดีเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยเฉพาะกุ้งก้ามกราม การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการตั้งถิ่นฐานและเกษตรกรรม เป็นตัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์เชิงผลกระทบกับการเกิดปัญหาอื่น ๆ มากที่สุด ดังนั้น จึงประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(GIS) เทคนิคการซ้อนทับ (Overlay Technique) เลือกใช้ layer ลักษณะภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบชุมชน ในการหาข้อจำกัดและศักยภาพของพื้นที่เพื่อเสนอแนวทางและวางแผนทรัพยากรให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินกับระบบชุมชน โดยเมื่อพิจารณาศักยภาพของพื้นที่ พบว่าพื้นที่ที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม ได้แก่บริเวณที่ราบลุ่มฝั่งตะวันออก พื้นที่ ที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาชุมชน ได้แก่ พื้นที่ที่แหล่งชุมชนเดิมและบริเวณใกล้เคียงตามแนวเส้นคมนาคม พื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกบางส่วนโดย Zone 1 มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรกรรม เป็นพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรมและสิ่งปลูกสร้างตามความต้องการมากกว่า Zone 2 แนวทางการจัดการทรัยากรที่ดิน จังหวัดสุพรณบุรี มุ่งเน้นที่จะวางแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินให้ สอดคล้องตามข้อจำกัดและศักยภาพของพื้นที่ ดังนี้ 1)แนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 2)แนวทางการจัดการ ทรัพยากรน้ำ 3)แนวทางการจัดการทรัพยากรดิน 4)แนวทางการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรม ประมงและปศุสัตว์ 5)แนวทางการพัฒนาศูนย์กลางตลาดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่องการเกษตร โดย แนวทางการจัดการดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน