dc.contributor.advisor |
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย |
|
dc.contributor.author |
นภาพร เหลืองมงคลชัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-08-19T06:20:21Z |
|
dc.date.available |
2020-08-19T06:20:21Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67599 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและความตั้งใจมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับกลุ่มส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและแบบวัดความตั้งใจการมาตรวจตามนัด ซึ่งตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความเที่ยง .88, .81 ตามลำดับ และ เครื่องมือกำกับการทดลองคือ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยจิตเภทต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและมาตรวจรับยาตามนัด ได้ค่าความเที่ยง .08 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที่ Independent t-test และ Paired t-test ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและความตั้งใจมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยจิตเภทแผนกผู้ป่วยนอกหลังได้รับกลุ่มส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่าก่อนได้รับกลุ่มส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและความตั้งใจมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยจิตเภทแผนกผู้ป่วยนอกกลุ่มที่ได้รับกลุ่มส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this quasi-experimental research were; to study the effect of perceived self-efficacy promoting group on medication adherence and follow-up intention of schizophrenic patients. The samples were 40 schizophrenic patients, randomly assigned into one experimental group who participated in self-efficacy promoting group and one control group who participated in regular caring activities. Research instruments were; The self-efficacy promoting group, the medication adherence scale and follow-up intention scale. These instruments were tested for content validity by 5 psychiatric experts. The reliability were .88, .81 respectively and self-efficacy on medication adherence and follow-up intention of schizophrenic patients scale the reliability were 80. The t-test was used in data analysis. Major findings were as follows: 1. Medication adherence and follow-up intention of schizophrenic patients, after participation in self-efficacy promoting group, was significantly higher than that before the experimental, at the .05 level. 2. Medication adherence and follow-up intention of schizophrenic patients who participated in self-efficacy promoting group was significantly higher than that of schizophrenic patients who participated in the regular caring activities, at the .05 level. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ผู้ป่วยจิตเภท -- การใช้ยา |
en_US |
dc.subject |
ผู้ป่วยจิตเภท -- การรักษา |
en_US |
dc.subject |
การรับรู้ตนเอง |
en_US |
dc.subject |
Schizophrenics -- Drug utilization |
en_US |
dc.subject |
Schizophrenics -- Treatment |
en_US |
dc.subject |
Self-perception |
en_US |
dc.title |
ผลของกลุ่มส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและความตั้งใจมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยจิตเภท |
en_US |
dc.title.alternative |
The Effect of perceived self-efficacy promoting group on medication adherence and follow-up intention of schizophrenic patients |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Oraphun.L@Chula.ac.th, Oraphun01@hotmail.com |
|