Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการเปิดประชุมการค้ารอบใหม่ขององค์การการค้าโลกได้เป็นผลสำเร็จระหว่างปี ค.ศ. 1999-2001 โดยอาศัยแนวคิดเรื่องระบอบระหว่างประเทศ (international regime) ของ Robert O. Keohane มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ทั้งนี้ภารศึกษาจะมุ่งไปยังการเจรจาระหว่างประเทศพัฒนาแล้วที่ต้องการให้มีการเปิดรอบใหม่ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาไม่ต้องการให้เปิดการเจรจารอบใหม่ จากการศึกษาพบว่าประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นใช้วิธีการชัดจูงประเทศกำลังพัฒนาประเทศอื่นๆหลากหลายเวทีในช่วงหลังการประชุมที่ซีแอตเติล จนก่อนถึงการประชุมที่โดฮาด้วยการเสนอการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคหากประเทศกำลังพัฒนาเห็นด้วยกับการเปิดรอบใหม่ นอกจากนี้ผลกระทบจากเหตุการณ์การก่อการร้าย 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ต่อการประชุมที่โดฮาและการเจ้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนก็มีอิทธิพลให้ประเทศกำลังพัฒนายอมลดกระแสคัดค้านการเปิดรอบใหม่เช่นเดียวกันด้วย อีกทั้งในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ประเทศ พัฒนาแล้วใช้ทั้งการกดดันและการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์จนทำให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมดเห็นด้วยกับการเปิดรอบใหม่แต่นัยยะจากการเปิดรอบใหม่นี้สามารถทำให้เกิดความล้มเหลวได้ในการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 5 ที่เมืองแคนคูนในปี ค.ศ. 2003 ได้เหมือนกัน