Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งผ่านราคาระหว่างตลาดยางพาราเป็นคู่ ๆ ได้แก่ การ ส่งผ่านราคายางแผ่นจากตลาดส่งออกมายังตลาดท้องถิ่น การส่งผ่านราคายางแผ่นจากตลาดกลางยางพารา หาดใหญ่มายังตลาดท้องถิ่น และการส่งผ่านราคาน้ำยางข้นส่งออกมายังราคาน้ำยางสดท้องถิ่น ในการศึกษา จะให้ความสนใจในราคายางที่ตลาดท้องถิ่นเป็นสำคัญอันเป็นราคาที่เกษตรกรทำการซื้อขาย ในการศึกษาความสัมพันธ์ของราคายางระหว่างตลาด ซึ่งใช้ตัวแปรราคาตามกาลเวลารายเดือน ในช่วงปี พ.ศ.2540 ถึง 2548 จำเป็นจะต้องทำการทดสอบคุณสมบัติ Stationary และอันดับของ Integration มิเช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหา Spurious Regression ขึ้นได้ หลังจากทราบอันดับของ Integration ของตัวแปรแล้ว จะทำการทดสอบ Cointegration ระหว่างตัวแปรราคา จากนั้นจึงสร้างสมการ ความสัมพันธ์ในระยะสั้น ECM และทดสอบการปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพว่ามีความสมมาตรหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่าทุกคู่ของราคามีความสัมพันธ์ Cointegration ค่าความยืดหยุ่นในระยะยาวของ การส่งผ่านราคายางแผ่นจากตลาดกลางหาดใหญ่ไปยังตลาดท้องถิ่นมีค่าเท่ากันกับค่าความยืดหยุ่นในระยะ สั้นเท่ากับ 1.06 ค่าที่ได้ใกล้เคียง 1 เป็นเพราะว่าเกษตรกรที่จังหวัดสงขลาจะใช้ราคา ณ ตลาดกลางมาอ้างอิง ทำการต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง ส่วนค่าความยืดหยุ่นในระยะยาวของการส่งผ่านราคายางจากตลาด ส่งออกไปยังตลาดท้องถิ่นมีค่าเท่ากับ 1.13 สำหรับยางแผ่น และ 1.24 สำหรับน้ำยาง ขณะที่ค่าความ ยืดหยุ่นในระยะสั้นเท่ากับ 1.28 สำหรับยางแผ่น และ 1.18 สำหรับน้ำยาง ค่าความยืดหยุ่นที่ได้มีค่าเกิน 1 มี สาเหตุมาจากการที่การผลิตยางพารามีความยืดหยุ่นต่ำ สำหรับค่าการปรับตัวในระยะสั้นเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพ ของทุกความสัมพันธ์มีความสมมาตรแม้ว่าในช่วงเวลที่ทำการศึกษารัฐบาลได้มีนโยบายการแทรกแซง ราคาอยู่บ้าง แต่ก็พบว่าปริมาณยางที่รัฐเข้าไปซื้อนั้นมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณยางที่ผลิตออกมา ทั้งหมด จากผลการวิเคราะห์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอให้ภาครัฐควรจะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางด้าน ราคายางให้ทั่วถึงแก่เกษตรกร และควรใช้มาตรการรักษาเสถียรภาพของราคายางเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่ มั่นคง