Abstract:
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อทดสอบการตอบสนองของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่มีต่อการที่ตลาดฯ รับทราบข้อมูลความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวทางเศรษฐกิจ (Forecasting Error) โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนรายวัน บาทต่อดอลลาร์สหรัฐกับความคลาดเคลื่อนจ ากการคาดการณ์ข่าวทางเศรษฐกิจแต่ละชนิด ของประเทศไทย 7 ชนิด และประเทศสหรัฐฯ 7 ชนิด ลำดับต่อมา ได้จัดแบ่งความคลาดเคลื่อน จาการคาดการณ์ข่าวที่เป็นบวก หรือข่าวดี และความคลาดเคลื่อนจากการ คาดการณ์ข่าวที่เป็นลบ หรือข่าวร้ายของประเทศไทย และประเทศสหรัฐฯ ลำดับต่อมา จัดความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวทาง เศรษฐกิจเป็น ของประเทศไทย และประเทศสหรัฐฯ หลังจากนั้นศึกษาความแปรปรวนที่เกิดขึ้น โดยทำการศึกษาในช่วงระยะเวลา 1 พฤษภาคม 2543 ถึง 31 ธันวาคม 2546 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน กับ ความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวชนิดต่างๆ พบว่า มีเพียง บางข่าวของประเทศไทย และประเทศสหรัฐฯ เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้ ประเทศไทย ได้แก่ ข่าวดุลการค้า ข่าวดุลบัญชี เดินสะพัด ข่าวผลิตกัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ข่าวดัชนีราคาผู้ผลิต ข่าวดัชนีราคาผู้บริโภค พบว่าข่าวดัชนีราคาผู้บริโภค มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมากที่สุด ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ข่าวดุลบัญชีเดินสะพัด ข่าวดัชนีราคาผู้บริโภค ข่าวอัตราการว่างงาน พบว่าข่าวอัตราการว่างงานมีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมากที่สุด เมื่อพิจารณาความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวที่เป็นบวก หรือข่าวดี และความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวที่เป็นลบ หรือข่าวร้ายของประเทศไทย และประเทศสหรัฐฯ พบว่าตลาดฯ มีการตอบสนองที่ไม่เท่าเทียมกัน (Asymmetric Response) ดังนี้ตลาดฯ จะ ตอบสนองต่อข่าวร้ายที่มาจากประเทศไทย ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัว แต่ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไม่ตอบสนองต่อข่าวดีจากประเทศไทย ผลการศึกษาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนรายวันกับความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวของประเทศไทย และประเทศสหรัฐฯ พบว่าตลาดฯ มีการตอบสนองที่เท่าเทียมกัน (Symmetric Response) เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนรายวัน พบว่ามีความแปรปรวนสูง อันเนื่องมาจากตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมีการตอบสนองต่อปัจจัยต่าง ๆ นอกเหนือจากความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวที่ใช้ในงานวิจัยนี้ และพบว่าความแปรปรวนในปัจจุบัน (Variance) มีความสัมพันธ์กับความแปรปรวนในอดีต และความคลาดเคลื่อนในอดีต (Error Term) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่าเมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะข่าวร้ายของประเทศไทย ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน มีการแกว่งตัวขึ้นลง ในระยะสั้นผู้รับผิดชอบนโยบายการเงินควรทำการแทรกแซงเพื่อป้องกันหรือลดความผันผวน พร้อมทั้งควบคุมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่มีธุรกรรมที่ผิดปกติเพื่อป้องกันการเก็งกำไร ในระยะยาวผู้รับผิดชอบนโยบายการเงิน ควรวิเคราะห์หาสาเหตุของความผันผวน รวมถึงการคาดคะเนและประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถวางนโยบายการเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สำหรับนักลงทุนควรทำการประเมินความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น Value at Risk เป็นต้น หลังจากนั้นจึงเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น Forward Swap Option เป็นต้น