dc.contributor.advisor |
ชัยพร วิชชาวุธ |
|
dc.contributor.author |
จารุภา วงศ์ช่างหล่อ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2020-08-20T08:07:43Z |
|
dc.date.available |
2020-08-20T08:07:43Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.isbn |
9743330852 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67637 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเชื่อว่าจะถูกทดสอบเป็นรายบุคคลกับการไม่ทราบว่ามีการทดสอบรายบุคคล ต่อการถ่ายโอนการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม โดยแต่ละเงื่อนไขมีการถ่ายโอนการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน 4 แบบคือ 1. การถ่ายโอนการเรียนรู้จากบุคคลสู่บุคคล (III) 2. การถ่ายโอนการเรียนรู้จากบุคคลสู่กลุ่ม (IGI) 3. การถ่ายโอนการเรียนรู้จากกลุ่มสู่บุคคล (GII) 4. การถ่ายโอนการเรียนรู้จากกลุ่มสู่กลุ่ม (GGI) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ จากวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ จำนวน 240 คน แบ่งตามเงื่อนไขเชื่อว่าจะถูกทดสอบเป็นรายบุคคล 120 คน และเงื่อนไขไม่ทราบว่ามีการทดสอบรายบุคคล 120 คน โดยในเงื่อนไขเชื่อว่าจะถูกทดสอบเป็นรายบุคคล ผู้วิจัยจะแจ้งให้ทราบก่อนการแก้ปัญหาว่าจะมีการทดสอบในครั้งสุดท้าย ในแต่ละเงื่อนไขจัดแบ่งตามการถ่ายโอนการเรียนรู้ทั้ง 4 แบบ แบบละ 30 คน และแบ่งย่อยออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จัดให้แต่ละกลุ่มแก้ปัญหาเชิงเหตุผล จากเกมมาสเตอร์มายด์ในคอมพิวเตอร์ 3 ครั้ง ครั้งละ 3 ข้อ ต่อเนื่องกันไป รวมทั้งหมด 9 ข้อ โดยไม่จำกัดเวลาในการแก้ปัญหาผู้วิจัยกำหนดให้ครั้งแรก เป็นการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (Original task) ครั้งที่ 2 เป็นการเรียนรู้ครั้งที่ 2หรือการถ่ายโอน (Transfer task) และครั้งที่สาม เป็นการทดสอบรายบุคคล (Individual test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การเชื่อว่าจะถูกทดสอบเป็นรายบุคคล ไม่มีผลต่อการถ่ายโอนการเรียนรู้จากบุคคลสู่บุคคล(III) จากบุคคลสู่กลุ่ม (IGI) และจากกลุ่มสู่บุคคล (GII) 2. ผลการถ่ายโอนการเรียนรู้ในเงื่อนไขการถ่ายโอนจากกลุ่มสู่กลุ่ม (GGI) ของการเชื่อว่าจะถูกทดสอบเป็นรายบุคคล น้อยกว่าการไม่ทราบว่ามีการทดสอบเป็นรายบุคคล 3. การเชื่อว่าจะถูกทดสอบเป็นรายบุคคล ทำให้การเรียนรู้ครั้งแรกรายบุคคล (I..) เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้การแก้ปัญหา ดีกว่าการเรียนรู้ครั้งแรกเป็นกลุ่ม (G.) 4. การเชื่อว่าจะถูกทดสอบเป็นรายบุคคล ทำให้การถ่ายโอนสู่บุคคล (.I) เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้การแก้ปัญหา ดีกว่าการถ่ายโอนสู่กลุ่ม (.G) 5. การไม่ทราบว่ามีการทดสอบเป็นรายบุคคลทำให้การเรียนรู้ครั้งแรกเป็นกลุ่ม (G..) เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้การแก้ปัญหา ดีกว่าการเรียนรู้ครั้งแรกรายบุคคล (I..) 6. การไม่ทราบว่ามการทดสอบเป็นรายบุคคลทำให้การถ่ายโอนสู่กลุ่ม (.G) เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้การแก้ปัญหา ดีกว่าการถ่ายโอนสู่บุคคล (.I) 7. ผลจากการทดสอบรายบุคคลของการเชื่อว่าจะถูกทดสอบเป็นรายบุคคล ไม่แตกต่างจากการไม่ทราบว่ามีการทดสอบเป็นรายบุคคล |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research is to study the effects of expected individual testing on transfer of learning in group problem-solving. A sample of 240undergraduate students from Kuakaroon Nursing College participated in this study. Subjects divided into 4 experimental conditions : 1) individual-to-individual transfer, 2) individual-to-group transfer, 3) group-to-individual transfer, and 4)group-to-group transfer. They were required to work on logical problem-solving tasks (mastermind computer game) for 3 trials. Results show that 1. Expecting individual testing does not affect individual-to-individual transfer (III), individual-to-group transfer (IGI), and group-to-individual transfer(GII) 2. In group-to-group transfer (GGI), the percentage of transfer in not-expecting individual testing is higher than expecting individual testing. 3. Expecting individual testing results in higher percentage of transfer in individual original tasks than group original tasks. 4. Expecting individual testing results in higher percentage of transfer in individual transfer tasks than group transfer tasks. 5. Not-expecting individual testing results in higher percentage of transfer in group original tasks than individual original tasks. 6. Not-expecting individual testing results in higher percentage of transfer in group transfer tasks than individual transfer tasks. 7. There is no difference between expecting individual testing and not-expecting individual testing in individual test condition. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การแก้ปัญหา |
en_US |
dc.subject |
การถ่ายโอนการเรียนรู้ |
en_US |
dc.title |
ผลของการเชื่อว่าจะถูกทดสอบเป็นรายบุคคลต่อการถ่ายโอนการเรียนรู้ ในการแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม |
en_US |
dc.title.alternative |
Effects of expected individual testing on transfer of learning in group problem-solving |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาสังคม |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|