Abstract:
พิพิธภัณฑ์จันเสน ตั้งอยู่ที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมสถูปสมัยทวารวดี ส่วนฐานใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบได้จากเมืองโบราณจันเสน ภายในอาศัยแสงธรรมชาติที่ได้จากช่องแลงโดยรอบอาคาร การใช้แสงธรรมชาติในพิพิธภัณฑ์จันเสนมีผลทำให้เกิดความไม่สบายตาทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพแสง เช่น มีระดับความส่องสว่างและอัตราส่วนระดับความสว่างขององค์ประกอบต่าง ๆ ภายในอาคารไม่เหมาะสม มีปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลตและอัตราความส่องสว่างสะสมเกินข้อกำหนด เกิดแสงแดดกระทบโบราณวัตถุ ซึ่งจะทำให้เกิดความเลียหายต่อโบราณวัตถุได้ การดิกษานี้เป็นการนำเสนอแนวทางการปรับปรุงภายในอาคารที่มีการใช้งานอยู่จริงเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้แสงธรรมชาติภายในอาคาร การศึกษาเริ่มจากการสำรวจอาคารเพื่อหาข้อดี ข้อเสีย ในเรื่องระดับความส่องสว่าง อัตราความส่องสว่างสะสม ความสมํ่าเสมอของระดับความส่องสว่าง การปรับสายตา อัตราส่วนระดับความสว่าง ความเปรยบต่าง ปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลต โอกาสการเกิดแสงแดดกระทบวัตถุ และแสงบาดตา โดยใช้ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการจัดแสดงงานในอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเกณฑ์ ผลที่ได้นำมาประเมินเพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุงอาคาร จากการศึกษาพบว่าหัวข้อต่าง ๆ ที่ได้ทำการสำรวจไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น ทำให้เกิดความไม่สบายตาและความเสียหายต่อโบราณวัตถุที่จัดแสดง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากช่องแสง ประตูทางเข้าอาคารทุกทาง และพื้นกับผนังหินอ่อนภายในอาคาร ทำการศึกษาหาแนวทางการปรับปรุงต่าง ๆ แล้วตรวจสอบและประเมินผลแนวทางการปรับปรุงโดยวิธีการจำลองสภาพอาคารด้วยหุ่นจำลอง ทำให้ได้ข้อสรุปคือ ออกแบบอุปกรณ์ปิดบังช่องแสงเหนือระดับสายตา ปิดประตูด้านที่ไม่ใช่ทางเข้า-ออกหลัก ปิดช่องแสงด้านข้างระดับสายตา ติดฟิล์มป้องกันรังลีอัลตราไวโอเลต และกั้นห้องบริเวณใกล้ทางเข้าอาคาร ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพแสงดังกล่าวได้ทุกหัวข้อ แต่ผลจากการปรับปรุงทำให้ภายใน อาคารมีระดับความส่องสว่างตํ่ากว่าข้อกำหนด จึงต้องใช้แสงประดิษฐ์ช่วยเสริมให้มีระดับความส่องสว่างที่เหมาะสม