Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจและการรับรู้เรื่องสันติวิธีของคู่ขัดแย้งในโครงการโรงท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย อ.จะนะ จ.สงขลาและเพื่อศึกษาเงื่อนไขที่ทำให้การใช้สันติวิธีไม่สำเร็จในสถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าว โดยมีสมมติฐานว่า คู่ขัดแย้งมีการรับรู้สันติวิธีที่แตกต่างกัน และการใช้แนวทางสันติวิธีในโครงการท่อส่งก๊าซฯ ขาดการสร้างความไว้วางใจและช่องทางการสื่อสารระหว่างกันของคู่ขัดแย้งการศึกษานี้ได้ใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกลาร ประกอบกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับบุคคล 5 กลุ่ม คือ บริษัทผู้รับผิดชอบโครงการฯ ฝ่ายสนับสนุนโครงการฯ ฝ่ายคัดค้านโครงการฯ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลที่มีบทบาทในฐานะสื่อกลาง ระยะเวลาการศึกษาอยู่ในระหว่างปี พ.ศ.2541-พ.ศ. 2546 ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้สันติวิธีของคู่ขัดแย้งเบื้องต้นเรื่องการละเว้นจากความรุนแรงมีความสอดคล้องก้น แต่แตกต่างกันในเรื่อง การรับรู้ประเภทของความรุนแรง ได้แก่ ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และ ลักษณะของสันติวิธี ได้แก่ สันติวิธีที่เป็นหลักการและยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหว ในประเด็นเรื่องความไว้วางใจนั้น จากการศึกษาพบว่ามีการสร้างความไว้วางใจเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม ไม่มีการจัดการกับความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้น ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญของการใช้แนวทางสันติวิธีเพราะความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดอคติระหว่างกัน ในประเด็นเรื่องการสื่อสาร พบว่า ช่องทางการสื่อสารปิดลงในช่วงที่แต่ละฝ่ายมีการแบ่งแยกขั้วอย่างชัดเจน จึงได้มีความพยายามสร้างสื่อกลางขึ้นเพื่อเชื่อมการสื่อสารระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม การสื่อสารผ่านสื่อกลางนั้น ประสบปัญหาความน่าเชื่อถือ ฐานะที่คลุมเครือของสื่อกลางและช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม ผลลัพธ์ก็คือเกิดความไม่เข้าใจก้นเพิ่มสูงขึ้นและเริ่มมีการตีความท่าทีและมาตรการต่างๆ ของฝ่ายตรงข้ามไปในทางลบ