Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาข้อมูลตอบสนองที่ได้จากการทดลองในแผนแบบการทดลองสุ่มตลอดที่ไม่มีการแจกแจงแบบปกติ ด้วยการแปลงข้อมูล เพื่อหารูปแบบการแปลงข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนมีระดับความเบ้ ความโด่งและความแปรปรวนที่แตกต่างกัน ให้มีการแจกแจงแบบ ปกติและยังเป็นไปตามเงื่อนไขของการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยมีตัวแบบเซิงสถิติดังนี้ Yij = µ + ti+ Ɛij เมื่อ i = 1,2,..., k และ j = 1,2,.., n โดยที่ Yij แทนข้อมูลตอบสนองที่ได้จากการทดลองจากวิธีทดลองที่ i หน่วย ทดลองที่ j µ แทนค่าเฉลี่ยรวม t1 แทนผลกระทบจากวิธีทดลองที่ i Ɛij แทนความคลาดเคลื่อนสุ่มของการทดลองจากวิธีทดลองที่ i หน่วยทดลองที่ j ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0 ความแปรปรวนเท่ากับ (℺2 ในการวิจัยครั้งนี้การจำลองข้อมูลในแต่ละสถานการณ์ใช้วิธีมอนติคาร์โลด้วยโปรแกรม R โดยกำหนดจำนวนวิธีทดลองเท่ากับ 3 4 และ 5 จำนวน หน่วยทดลองในแต่ละวิธีทดลองเท่ากับ 4 5 และ 6 ความคลาดเคลื่อนของข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือเบ้ขวาและเบ้ซ้าย กรณีละ 2 ระดับคือ เบ้น้อยและเบ้มาก ซึ่งในแต่ละระดับความเบ้มี 3 ระดับความโด่งคือ น้อย ปานกลางและมากและสัมประสิทธิ์ความแปรผันเท่ากับ 20% 40% และ 60% ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบวิธีการแปลงข้อมูลที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาดังกล่าวคือ ค่าสัดส่วนของความสำเร็จในการแก้ปัญหาข้อมูลตอบสนองไม่มีการแจกแจงแบบปกติ ค่าสัดส่วนของความสำเร็จในการแก้ปัญหาข้อมูลตอบสนองไม่มีการแจกแจงแบบปกติและมีความแปรปรวนเท่ากัน ค่าสัดส่วนของการปฏิเสธสมมติฐานว่างและอำนาจการทดสอบของการทดสอบเอฟ ผลการศึกษาจะสรุปได้ดังนี้ 1. ที่ระดับความเบ้น้อย จะมีสัดส่วนของความสำเร็จในการแก้ปัญหาข้อมูลไม่มีการแจกแจงแบบปกติและมีความแปรปรวนเท่ากันภายหลังการแปลงข้อมูลมากกว่าที่ระดับความเบ้มาก การแปลงข้อมูลด้วยค่า A = 0.5 จะให้ค่าความสำเร็จมากในกรณีเบ้ขวาที่ระดับความเบ้น้อย การแปลงข้อมูลด้วยค่า A =0 จะให้ค่าความสำเร็จมากในกรณีเบ้ขวาที่ระดับความเบ้มาก ยกเว้นกรณีที่มีสัมประสิทธิ์ความแปรผันน้อย การแปลงด้วยค่า A = 0 A =-0.5 และ A =-1.0 จะให้ค่าความสำเร็จมาก ส่วนกรณีเบ้ข้าย การแปลงด้วยค่า A =1.5 และ A =2.0 จะให้ค่าความสำเร็จสูง 2. ที่ระดับความเบ้เดียวกัน กรณีที่มีค่าความโด่งมาก จะให้ค่าความ สำเร็จน้อยกว่ากรณีอื่นและความสามารถในการควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 จะน้อย 3. เมื่อสัมประสิทธิ์ความแปรผันมีค่าสูง1ขึ้น ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 จะลดลง