DSpace Repository

กฎเชิงพื้นที่ของการใช้พื้นที่โล่งว่างสาธารณะ กรณีศึกษาชุมชนไท-ยอง บ้านหนองเงือก จังหวัดลำพูน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
dc.contributor.author กฤษฎางค์ ยะรินทร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-08-24T07:56:11Z
dc.date.available 2020-08-24T07:56:11Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67683
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en_US
dc.description.abstract วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง รูปทรง การจัดเรียงตัวของพื้นที่โล่งว่างสาธารณะ และรูปแบบการใช้งานพื้นที่ของคนในชุมชนไทยอง บ้านหนองเงือก ลำพูน โดยเทคนิควิเคราะห์ทางสัณฐานวิทยาเมือง ร่วมกับการสังเกตการณ์ และเก็บข้อมูลภาคสนามอย่างเป็นระบบ เพื่อสรุปเป็น กฎเชิงพื้นที่ของการใช้พื้นที่โล่งว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ในชุมชนกรณีศึกษา และข้อเสนอในการประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นๆ ในบริบทที่ใกล้เคียงกันได้ พบว่าพื้นที่โล่งว่างสาธารณะของชุมชนไทยอง มีกฎเชิงพื้นที่ในระดับรวมที่สำคัญอยู่สี่ประการ ได้แก่ 1) พื้นที่โล่งว่างสาธารณะของชุมชนที่รองรับกิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจในวันปรกติ มักตั้งอยู่บนพื้นที่ทางเชื่อมระหว่างโครงข่ายการสัญจรสองเส้นที่มีระดับความสัมพันธ์ที่ดีกับ โครงข่ายการสัญจรของชุมชนโดยรวม 2) พื้นที่โล่งว่างสาธารณะระดับชุมชนที่รองรับกิจกรรมเทศกาลงานประเพณีในโอกาสพิเศษ ล้วนเป็นพื้นที่ที่มีระดับความสัมพันธ์ที่ดีกับโครงข่ายการสัญจรของชุมชนโดยรวม 3) พื้นที่โล่งว่างสาธารณะในบริบทแบบไทยไม่ควรเป็นพื้นที่โล่งกว้างเกินไป ถึงแม้พื้นที่จะมีสนามทัศน์ที่ดี และมีระดับความสัมพันธ์ที่ดีกับโครงข่ายการสัญจรของชุมชนโดยรวม 4) พื้นที่ว่างสาธารณะของชุมชนล้วนตั้งอยู่บนจุดตัดสำคัญของโครงข่ายการสัญจรในระบบ ‘สานเป็นตาราง’ แต่เนื่องจากโครงข่ายของการสัญจรของชุมชนนั้นอยู่ใน ‘ระบบตารางตั้งแนวไม่ตรง’ ทำให้ ‘ช่องทางมอง’ ระหว่างพื้นที่ไม่เชื่อมโยงต่อเนื่องถึงกัน กล่าวได้ว่า พื้นที่นั้นๆ มีลำดับศักดิ์ของการมองเห็น ยังผลให้การสัญจร ‘ผ่านพื้นที่’ และ การ ‘เข้าสู่พื้นที่’ นั้น ‘ช้าลง’ ซึ่งเป็นผลดี เอื้อให้เกิดกิจกรรมทางสังคมของผู้คนในชุมชนบนพื้นที่นั้นๆ จากการศึกษาคุณสมบัติเชิงพื้นที่ของพื้นที่โล่งว่างสาธารณะในระดับพื้นที่เฉพาะพบว่า มีกฎเชิงพื้นที่ที่สำคัญอยู่สามประการ ได้แก่ 1) พื้นที่โล่งว่างสาธารณะในระดับเมืองหรือชุมชน ควรมีลักษณะของการโอบล้อม-ปิดล้อมที่ดี และมีขนาดที่กว้างขวางเพียงพอที่จะรองรับผู้คนระดับเมืองหรือชุมชนได้ 2) พื้นที่ทางสังคม หรือพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ควรประกอบไปด้วยพื้นที่ย่อยๆ หลายๆ พื้นที่ เพื่อให้มีลำดับศักดิ์ในการมองเห็น และมีทางเข้าออกพื้นที่หลายทาง 3) พื้นที่ดังกล่าว ควรมีร่มเงาที่ดีด้วย en_US
dc.description.abstractalternative Focuses on the analysis of the relationship between shape, form and spatial configuration of public open spaces and the space use patterns of Thai Yong community, Baan Nong-Ngueak, Lamphun. This is carried out systematically by spatial morphological, observation and field survey techniques in order to examine the spatial rules of multi-use public open spaces in the case study and to propose the application for other similar areas. It is found that there are 4 spatial rules of Thai Yong public open spaces; 1) the public open space for leisure uses often locate at the intersection of 2 global integrators; 2) the public open spaces for ceremonial uses are the areas that are well integrated with the overall transport network; 3) the public open space uses for Thai context should not be to much exposed despite the isovist field; 4) the community’s public spaces often locate on major intersections within the grid transport network. However, because of its deformed grid characteristic, the visual linkages within the area are not well interconnected and become hierarchical. This results in that the ‘moving through’ and ‘moving to’ movement become ‘slow’ and good for social interaction. The study also reveals that there are 3 spatial rules of the community’s local public open spaces; 1) the public open spaces, both city and local levels, should be well enclosed and large enough to accommodate all users at all scale of use; 2) the social spaces or leisure areas should consist of a series of small and visually hierarchical space with multi entrances/exists; 3) such spaces should be shady. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.27
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ไท-ยอง en_US
dc.subject พื้นที่โล่ง -- ไทย -- บ้านหนองเงือก (ลำพูน) en_US
dc.subject พื้นที่โล่ง -- การใช้ประโยชน์ -- กฎและการปฏิบัติ en_US
dc.subject พื้นที่สาธารณะ -- การใช้ประโยชน์ -- กฎและการปฏิบัติ en_US
dc.subject Thai Yong en_US
dc.subject Open spaces -- Thailand -- Bann Nong-Ngueak (Lamphun) en_US
dc.subject Open spaces -- Utilization -- Rules and practice en_US
dc.subject Public spaces -- Utilization -- Rules and practice en_US
dc.title กฎเชิงพื้นที่ของการใช้พื้นที่โล่งว่างสาธารณะ กรณีศึกษาชุมชนไท-ยอง บ้านหนองเงือก จังหวัดลำพูน en_US
dc.title.alternative Spatial rules of public open space uses : a case study of Thai Yong community, Bann Nong-Ngueak, Lamphun Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การวางผังชุมชน en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Khaisri.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.27


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record