Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงความหมายขององค์กรอาชญากรรม รูปแบบ และปัญหาขององค์กรอาชญากรรม รวมทั้งผลกระทบของการประกอบอาชญากรรมที่ผู้กระทำเป็นองค์กรอาชญากรรม ความเกี่ยวพันระหว่างองค์กรอาชญากรรมและการฟอกเงิน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้อง กันและปราบปรามองค์กรอาชญากรรมและการฟอกเงินในกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย รวมทั้งในกฎหมายของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าองค์กรอาชญากรรมคือกลุ่มของบุคคลที่รวมตัวจัดตั้งเป็นองค์กรเพื่อประกอบอาชญากรรมอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนในการกระทำความผิดมีลำดับบังคับบัญชาและแบ่งหน้าที่โดยการมอบหมายงานเป็นทอดๆ การดำเนินการมีลักษณะปกปิดและรักษาความลับขององค์กรรวมทั้งตัดทอนความสัมพันธ์ที่โยงใยถึงกันภายในองค์กรที่จะเชื่อมไปถึงหัวหน้าขององค์กร ลักษณะดังกล่าวทำให้อาชญากรรมประเภทนี้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงและมีความยากในการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามของรัฐ องค์กรอาชญากรรมมีความเกี่ยวพันกับการการฟอกเงินเนื่องจากผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้มหาศาลจากการประกอบอาชญากรรมดังกล่าวถูกนำไปฟอกเงิน คือแปลงสภาพเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่เสมือนได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และถูกใช้เป็นทุนหล่อเลี้ยงองค์กรและหมุนเวียนกลับมาใช้ประกอบ อาชญากรรมไม่สิ้นสุด ในขณะที่มาตรการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ก็มีข้อจำกัดในเรื่องความผิดมูลฐาน ซึ่งพบว่ายังไม่มีการบัญญัติความผิดฐานองค์กรอาชญากรรมไว้ไนกฎหมาย ทั้งที่ความผิดที่กระทำโดยองค์กรอาชญากรรมสมควรกำหนดให้เป็นความผิดมูลฐาน ตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทำให้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา และมาตรการพิเศษที่บังคับใช้ไนพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาก็มีข้อจำกัดเฉพาะตามความผิดที่พระราชบัญญัตินั้นๆ กำหนดเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถเอาผิดกับผู้ที่ เกี่ยวข้องในองค์อาชญากรรมได้อย่างเด็ดขาด และบทบัญญัติที่ใช้บังคับในการป้องกันและปราบปราบการฟอกเงินที่เกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมในปัจจุบันมีสภาพบังคับไม่ครอบคลุมถึงการฟอกเงินจากความผิดที่เกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมดังกล่าวเท่าที่ควร จากสภาพปัญหาเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมและข้อจำกัดทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปราบการฟอกเงินดังกล่าวผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าควรกำหนดความผิดฐานองค์กรอาชญากรรมเป็นความผิดตามกฎหมาย และควรกำหนดความผิดฐานองค์กรอาชญากรรมดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินขององค์กรอาชญากรรมในกฎหมายตังกล่าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น