Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของรำวงในประเทศไทย และศึกษารำวงอาชีพ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ในด้านประวัติ องค์ประกอบการแสดง วิธีแสดง ตั้งแต่พ.ศ. 2504-2521 โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ หัวหน้าคณะ ผู้แสดง นักดนตรี และผู้เคยเห็นการแสดงรำวงอาชีพ ผลการวิจัยพบว่า รำวงมีการพัฒนาการมาจากการร้องรำของชุมชนห้องถิ่น ในการรำประกอบพิธีกรรม และการรำเพื่อความสนุกสนานของชายหญิง เช่น รำโทนของชาวไทยโคราช เป็นรำวงพื้นบานที่เก่าแก่ ในรัฐบาลของจอมพลป. พิบูลสงครามสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นำรำโทนมาปรับปรุงและเรียกว่า รำวงมาตรฐาน โดยใช้รำวงเพื่อการสร้างชาติ นอกจากนี้รำวงมาตรฐานเติบโตในสังคมเมีองควบคู่กับการเต้นลีลาศ ตามงานสโมสร รำวงของรัฐบาลยุติลง แต่เกิดการพัฒนาขึ้นในสังคมท้องถิ่น และทำให้เกิดเป็นอาชีพ พบว่ามี 2 แนวคือ รำวงประกอบบท และรำวงอาชีพ รำวงอาชีพ มีรูปแบบการแสดงที่เหมือนกันทั่วประเทศ เป็นรำวงเพื่อการค้า ผู้แสดงเป็นหญิงรับจ้างรำกับลูกค้าผู้ชายบนเวทีไม้ยกพื้นปูนบนถังนํ้ามัน วงดนตรีใช้วงชาโด่วซึ่งเป็นวงดนตรีสากล มีการขายบัตรเป็นรอบ ปัจจุบันรำวงอาชีพ พบว่ามี 5 คณะใน ต.ห้วยใหญ่ ที่ยังคงเหลืออยู่ และแสดงในช่วงพ.ศ.2504-2521 จากนั้นถูกห้ามแสดงตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2528 เนื่องจากเกิดการทะเลาะวิวาทอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ทำให้รำวงอาชีพลดน้อยลง วิธีแสดงมี 4 ส่วนคือ 1. การบูชาครู 2. การรำไหว้ครู 3.การเต้นเช้าจังหวะ 4.การรำเข้าจังหวะ การบูชาครู เป็นการบูชาด้วยเครื่องบูชา ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากการประกอบพิธีกรรมในละครไทยแต่เดิม การรำไหว้ครูพบว่า ลักษณะการรำเป็นท่ารำไทยมาตรฐาน 7 ท่า และการรำใช้บท ประกอบกับท่ารำที่คิดใหม่ 7 ท่า การใช้ท่ารำอยู่ช่วงกลางลำตัว ไม่เรียงลำดับท่า หันหน้ารำด้านหน้าด้านเดียว โยกตัวตลอดเพลง การเต้นเข้าจังหวะมี 32 จังหวะ แบ่งเป็น การเต้นเข้าจังหวะตามแบบสากล 21 จังหวะ และการรำเข้าจังหวะในจังหวะที่เกิดในประเทศ 11 จังหวะ เป็นการผสมระหว่างท่ารำไทยกับการก้าวเท้าตามจังหวะสากล ที่ผู้แสดงเป็นผู้คิดใหม่จากเพลงที่นิยมและจากการแสดงต่าง ๆ เป็นท่าเฉพาะที่เช้าใจกันในหมู่คณะ รำวงอาชีพต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ทั่ง 5 คณะ ปัจจุบันไม่ยึดเป็นอาชีพ ซึ่งมีการจัดแสดงเป็นบางครั้งตามเทศกาล หรือเป็นการสาธิตเท่านั้น รำวงแม้ว่าจะเสื่อมไป แต่ในทางกลับกันปรากฏว่ามีสอนในหลักสูตรประถมศึกษา โรงเรียนสอนลีลาศ และการจัดลีลาศทุกแห่งโดยมีรำวงเป็นสิ่งบันเทิงร่วมกัน เป็นที่ยอมรับว่าเป็นศิลปะประจำชาติอย่างหนึ่ง เพื่ออวดชาวต่างชาติ รำวงเป็นนาฏยศิลป์ที่คนไทยคุ้นเคยมาเป็นเวลาหลายร้อยปี มีการพัฒนามาโดยตลอดจนเป็นที่ยอมรับโดยปริยายอย่างหนึ่งว่าเป็นศิลปะวัฒนธรรมของชาติสมควรที่จะรักษาและสืบทอดต่อไป