Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบถึงความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนในห้องปฏิบัติการของเชื้อ11 แคนดิดา อัลบิ แคนล์ที่แยกจากช่องปากของผู้ป่วยเอดส์กับผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี โดยวิธีทดสอบการย่อยสลายอัลบูมินจากซีรัมของวัว และศึกษาถึงความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนในห้องปฏิบัติการหลังจากที่ผสมยาต้านเชื้อรานิสตาตินและมิโคนาโซลลงในอาหารเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 18 ชั่วโมง แล้วนำมาทดสอบการย่อยสลายอัลบูมินจากซีรัมของวัวเช่นเดียวกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มที่เป็นโรคเอดส์และกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวนกลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มที่เป็นโรคเอดส์จะต้องได้รับการวินิจฉัยยืนยันว่าติดเชื้อเอชไอวีโดยวิธี ELISA, มีจำนวนลิมโฟชัยท์ชนิดชีดี 4* น้อยกว่า 200 เชลล์/มม3, เป็นพาหะของเชื้อ แคนดิดา อัลบิแคนส์ โดยไม่มีรอยโรคทางคลินิกของการติดเชื้อราในช่องปากในขณะที่ทำการเก็บเชื้อ และไม่ได้รับยาต้านเชื้อราในช่วง 1 เดือนจนก่อนการเก็บเชื้อจากช่องปาก ส่วนกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีจะต้องมีผลลบต่อแอนติบอดีของเชื้อเอชไอวี, เป็นพาหะของเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์, ไม่มีโรคทางระบบ และไม่ไต้รับยาปฏิชีวนะ ยากดระบบภูมิคุ้มกันหรือยาต้านเชื้อราในช่วง 1 เดือนก่อนการเก็บเชื้อ การเก็บตัวอย่างเชื้อใช่สำลีพันปลายไม้ถูที่เยื่อบุผิวช่องปาก และนำมาแยกเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ โดยพิจารณาจากลักษณะโคโลนี, การสร้างแคลมีโดโคนิเดียมและการทดสอบการใช้นํ้าตาล หลังจากนั้นนำมาทดสอบความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนก่อนและหลังการใช้ยาต้านเชื้อรานิสตาตินและยามิโคนาโซลความเข้มข้น 1/4 และ 1/16 ของความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อไต้ (MIC) โดยทดสอบการย่อยสลายอัลบูมินจากซีรัมของวัว 5 วัน และย้อมสีด้วยสารละลายคูแมสซี บริลเลียนท์ บลู อาร์ แล้วนำมาคำนวณค่าความสามารถในการย่อยสลายโปรตีน (Prd value) ในวันที่ 5 ของการล้างสีคูแมสชี บริลเลียนท์ บลู อาร์ ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนก่อนใช่ยาต้านเชื้อราระหว่าง 2 กลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และเมื่อพิจารณาผลของยาต้านเชื้อราต่อความสามารถในการย่อยสลายโปรตีน พบว่า เชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์จากทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการย่อยลลายโปรตีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) หลังจากใช่ยาต้านเชื้อราทั้งยานิสตาตินและยามีโคนาโซลทั้งความเข้มข้น 1/4 และ 1/16 ของความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเชื้อ 2 กลุ่ม พบว่า ความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนที่ลดลงเนื่องจากผลของยาต้านเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) นอกจากนี้ พบว่ายามิโคนาโซลความเข้มข้น 1/4 ของความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้สามารถลดความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนได้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ยานิสตาตินความเข้มข้น 1/4, ยามีโคนาโซลความเข้มข้น 1/16 และยานิสตาตินความเข้มข้น 1/16 ของความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถ ยับยั้งเชื้อไต้ ตามลำดับทั้ง 2 กลุ่ม งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนโดยเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์จาทผู้ป่วยเอดส์ในระยะที่ไม่มีรอยโรคแคนดิเดียซิสในช่องปากไม่มีความแตกต่างกับเชื้อที่ได้จากผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี และการใช่ยาต้านเชื้อรานิสตาตินหรือยามิโคนาโซลต่อเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ในระยะนี้ สามารถลดความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนได้ทั้ง 2 กลุ่มในลักษณะที่ขึ้นกับปริมาณยา โดยที่ยามีโคนาโซลมีประสิทธิภาพในการลดความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนได้ดีกว่ายานิลตาดิน