Abstract:
การวิจัยนี้เปีนการทดลองในสภาพการใช้งานจริง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและ ความชื้นของผนังมวลสารน้อย(น้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) 3 ประเภทในอาคารปรับอากาศ โดยมีค่าสัมประสิทธิการถ่ายเทความร้อน (U) อยู่ระหว่าง 0.3 - 0.45 Btu/hr.ft².°F3 ได้แก่ 1) ผนังไม้ฝา สำเร็จรูป (U = 0.34Btu/ft².hr.°F) 2) ผนังอลูมินัมแคลดดิ้ง (U= 0.43 Btu/ft².hr. °F) และ3) ผนัง3”-EIFS (Exterior Insulation and Finished System, U = 0.07 Btu/ft² .hr. °F)การศึกษาพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนพบว่า ผนังมวลสารน้อยทั้ง 3 ประเภทมีระยะเวลาการหน่วงเหนี่ยวความร้อน (Time lag) น้อยกว่า 1 ชั่วโมง กรณีปรับอากาศ 24 ชั่วโมงผนังมวลสารน้อยที่ไม่ติดฉนวนและติดฉนวน 3”-EIFS สามารถลดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิอากาศภายนอกและภายในช่วง สูงสุดลงได้ร้อยละ 20-30 และ80-85 ตามลำดับ กรณีเปิดเครื่องปรับอากาศช่วงเวลา 8:00-18:00 น. ผนังมวล สารน้อยมีอัตราการถ่ายเทความร้อนสูงสุดของผนังอลูมินัมแคลดดิ้ง (24-26 Btu/hr.ft²)sหนังไม้ฝาสำเร็จรูป (19-20 Btu/hr.ft²) และผนัง EIFS (6-7 Btu/hr.ft²) ในกรณีปิดเครื่องปรับอากาศช่วงเวลา 20:00-6:00 น. ผนัง มวลสารน้อยจะคายความร้อนที่สะสมในช่วงกลางวันอย่างรวดเร็วส่งผลให้มีภาระการทำความเย็นในช่วง เริ่มเปิดเครื่องปรับอากาศตํ่าโดยมีอัตราการถ่ายเทความร้อนสูงสุดของผนังอลูมินัมแคลดดิ้ง (4-5 Btu/hr.ft² ) ผนังไม้ฝาสำเร็จรูป (5-6 Btu/hr.ft²) และผนัง EIFS (3-4 Btu/hr.ft²) การศึกษาการถ่ายเทความชื้นจากการ รั่วซึมของอากาศพบว่าภาระการทำความเย็นจากการรั่วซึมของอากาศเฉลี่ย ของผนังไม้ฝาสำเร็จรูปเท่ากับ 5.62 Btu/hr.ft² ผนัง EIFS เท่ากับ 0.67 Btu/hr.°Ft² และผนังอลูมินัมแคลดดิ้งเท่ากับ 0.25 Btu/hr.°Ft²ผลการวิจัยสรุปว่า กรณีปรับอากาศ 24 ชั่วโมง เมื่อไม่พิจารณาภาระการทำความเย็นในช่วงเริ่มเปิด เครื่องปรับอากาศ ผนังที่มีการติดฉนวน 3”-EIFS ของทุกมวลสารจะมีภาระการทำความเย็นใกล้เคียงกัน แต่ในกรณีที่มีการเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศพบว่า ผนังมวลสารน้อยมีภาระการทำความเย็นในช่วงเริ่มเปิด เครื่องปรับอากาศต่ำกว่าผนังมวลสารปานกลาง 2 เท่าและต่ำกว่าผนังมวลสารมาก 3 เท่า