Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาอุดมทรรศน์เกี่ยวกับ "เขมร' ในปริจเฉทหนังสือพิมพํไทย กรณีเหตุ จลาจลเผาสถานฑูตไทยในกัมพูชา พ.ศ.2546 ว่ามีการเสนอภาพของ "เขมร’' อย่างไร มีอุดมทรรศนิอะไรบ้าง อยู่เบื้องหลัง และใช้กลวิธีทางภาษาใดเพื่อสื่ออุดมทรรศนินั้น โดยเลือกศึกษาจากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย 5 ชื่อฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ คมชัดลึก ข่าวสด และมติซน ตั้งแต่ 28 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์2546 ผลการวิจัยพบว่า,พบกลวิธีทางภาษาที่สื่อออุดมทรรศนิที่สำคัญ 9 กลวิธี ได้แก่ การใช้ถ้อยคำสมญานาม โครงสร้างทางวาทคิลป์การใช้ข้อสมมติเบื้องต้นเป็นเครื่องมือ การใช้รูปประโยคกรรม การอ้างคำกล่าว ของบุคคลอื่น การใช้กลวิธีการเล่าเรื่อง การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการตัดและเน้นข้อความ กลวิธี เหล่านี้ต่างเสนอภาพของ “เขมร" ที่ลอดคล้องกัน ได้แก่ เขมรป่าเถื่อน เขมรต้องพึ่งไทย เขมรไว้ใจไม่ได้ เขมร ด้อยปัญญา และเขมรเป็นศัตรูของชาติภาพของ “เขมร"ที่ปรากฏในปริจเฉทหนังสือพิมพ์รายวันไทยในช่วงเวลาดังกล่าว สะท้อนความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับความเป็น'ชาติ ซึ่งนำไปสู่การมองว่ามี “ชาติเรา” และ “ชาติเขา” และ “ชาติเรา” เหนือกว่า “ชาติเขา” และอุดมทรรศนิว่าด้วยสำนึกร่วมแห่งความเป็นชาติของคนไทย