Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้รูปแบบการศึกษาเป็นแบบเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชายหญิงที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้แบบสอบถาม เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง รวมทั้งตารางมาตรฐานน้ำหนักส่วนสูง และเครื่องชี้วัดทางโภชนาการของประชาชนไทยอายุ 1 วัน - 19 ปี ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542 โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,832 คน เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ (ชาย 734 คน หญิง 1,089 คน) ผลการศึกษาพบว่า 1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการค่อนน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 46.7 รองลงมาคือ ภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ร้อยละ 45.2 และภาวะโภชนาการค่อนข้างมากและมากเกินเกณฑ์ ร้อยละ 6.6, 1.5 ตามลำดับ 2. พฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง โดยนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดีและปานกลาง (ร้อยละ 68.2) มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของบริโภคนิสัยในการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 84.3) มีค่าเฉลี่ยคะแนนบริโภคนิสัยอยู่ในระดับดี 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 คือ ความรู้ด้านโภชนาการ บริโภคนิสัยในการบริโภคอาหาร ระดับการศึกษาสูงสุดของบิดามารดาและผู้ปกครอง การสนับสนุนทางสังคม อิทธิพลจากสื่อเขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่การปกครอง สังกัดการศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 คือ เพศ การศึกษาของมารดา รายได้รายจ่ายของครอบครัว ภาวะโภชนาการของบิดามารดา เขตพื้นที่การศึกษาและเขตพื้นที่การปกครอง ซึ่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดามารดาเป็นครอบครัวเดี่ยว ระดับการศึกษาของบิดา มารดา ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมีอาชีพค้าขายและรับราชการ รายได้และรายจ่ายส่วนใหญ่น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ลักษณะอาหารที่นักเรียน รับประทานในครอบครัวส่วนใหญ่จะประกอบอาหารโดยการปรุงอาหารรับประทานเองทุกมื้อ ร้อยละ 66.8 และอาหารกลางวันที่นักเรียนจะรับประทาน จะซื้อจากแม่ค้าในโรงเรียน โดยส่วนใหญ่อาหารมื้อเช้ามักจะเป็นข้าวต้ม ข้าวแกง และนมกับขนมปัง (ร้อยละ 28.7, 28.4, 22.1 ตามลำดับ) มื้อกลางวันจะเป็นข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน (ร้อยละ 35.0, 25.8, 21.6 ตามลำดับ) มื้อเย็น นักเรียนมักจะรับประทาน ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ผลไม้ นม ประเภทของอาหารที่นักเรียนรับประทานใน 1 สัปดาห์ พบว่า อาหารที่นักเรียนรับประทานเป็นประจำ คือ ปลา, ผลไม้ เช่น มังคุด มะม่วง ทุเรียน, นมสด / โยเกิร์ตแบบกระป๋อง, ไข่ไก่ ไข่เป็ด