Abstract:
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งที่เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติเพี่อสิทธิในการออก เสียงลงมติและมีส่วนร่วมในการจัดสรรชำระหนี้ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงมีความจำเป็นต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพี่อพิสูจน์สิทธิเรียกร้องของตน โดยเจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ถ้ามูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้บางประเภทมีสิทธิได้รับชำระหนี้โดย ไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการในหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามแผน เช่น หนี้ที่ผู้ทำแผนก่อขึ้น ตามมาตรา 90/62(1) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนในการก่อหนี้เพี่อการฟื้นฟูกิจการ การจัดการกับหนี้ที่ผู้ทำแผนก่อขึ้นหรือหนี้ที่กำหนดไว้ในแผน ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการสิทธิของเจ้าหนี้ผู้ให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูกิจการ และการบังคับชำระหนี้ดังกล่าว ตามกฎหมายฟื้นฟูกิจการของไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ เพี่อวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับหนี้ตั้งสองประเภทนั้นพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขเพี่อให้บทบัญญัติเกี่ยวกับหนี้ที่ผู้ทำแผนก่อขึ้นหรือกำหนดไว้ในแผน ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ในการฟื้นฟูกิจการของไทยเป็นไปอย่างชัดเจนเหมาะสมจากการศึกษาพบว่า ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างที่แผนฟื้นฟูกิจการยังไม่ได้รับอนุมัติโดยสามารถกระทำการที่จำเป็นเพี่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้และเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วผู้บริหารแผนจะมีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ภายใต้กรอบของ แผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 7) พ.ศ. 2547 ยังไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจน เกี่ยวกับการจัดการกับหนี้ที่ไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการกรณีเป็นหนี้ที่ผู้ทำแผนก่อขึ้นหรือหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนว่าหนี้ดังกล่าวมีขอบเขตเพียงใดเจ้าหนี้ในหนี้ดังกล่าวมีสิทธิได้รับหนี้อย่างไรหากเจ้าหนี้ถูกปฏิเสธการชำระหนี้จะได้รับการเยียวยาอย่างไร ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงขอเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 1. ควรกำหนดแนวทางในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่จำเป็นเพี่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น 2. กำหนดให้ผู้ทำแผนต้องเปิดเผยอัตราค่าใช้จ่ายของตนในหนังสือยินยอมของผู้ทำแผนตั้งแต่ในขั้นยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ หรือก่อนการประชุมเจ้าหนี้เพี่อพิจารณาแผน เหมือนเช่นกรณีผู้บริหารแผนแสดงค่าตอบแทนของตนในหนังสือยินยอมของผู้บริหารแผน ตามมาตรา 90/42 (7) 3. กำหนดหลักเกณฑ์การควบคุมตรวจสอบค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการและการจ่ายค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ เพี่อช่วยให้การใช้ดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ