Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและพฤติกรรมการเดินทางไปทำงานของผู้เดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางไปทำงานโดยใช้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งการศึกษาครั้งนี้จะเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการลัมภาษณ์ผู้เดินทางไป ทำงานในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 446 คน ในปีพ.ศ.2548 โดยใช้แบบจำลองประเภท Binary Logit Model ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มของผู้เดินทางที่ยังคงใช้รถยนต์ ในการเดินทางไปทำงานอยู่นั้นให้ความสำคัญกับหลักเกณฑ์เวลาในการเดินทาง และความสะดวก มากกว่าค่าโดยสาร ในการตัดสินใจเลือกใช้รถไฟฟ้า ขณะที่กลุ่มของผู้ที่ได้เปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ไปใช้รถไฟฟ้าแล้วนั้นให้ความสำคัญกับหลักเกณฑ์เวลาในการเดินทางและค่าโดยสารมากกว่าความสะดวกในการตัดสินใจเลือกใช้รถไฟฟ้า ส่วนผลการศึกษาของแบบจำลอง Binary Logit Model แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางไป ทำงานไปใช้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแทนการใช้รถยนต์ คือ อายุ เพศ รายได้ครัวเรือน ผลต่าง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ผลต่างของเวลาในการเดินทางค่าจอดรถระยะทางเช้าสู่ยานพาหนะและปัจจัยร่วมระหว่างปัจจัยผลต่างเวลาในการเดินทางกับค่าจอดรถ โดยปัจจัยที่มีผลต่อความน่าจะเป็นที่ผู้เดินทางไปทำงานจะเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์เพิ่มขึ้น คือ อายุที่เพิ่มขึ้นเพศชายมีรายได้ครัวเรือนอยู่ในช่วง 60,001-80,000 บาทต่อเดือนหรือมากกว่า 100,000 บาทต่อ เดือนขึ้นไป