Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทบาทอำนาจหน้าที่ของ วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ว่ามีข้อดีข้อเสีย และผล กระทบเกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติ หน้าที่ของวุฒิสภา โดยที่เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ผลการวิจัยพบว่าด้วยสภาพสังคมวิทยาการเมือง (Political Sociology) ของประเทศ ไทย ทำให้วุฒิสภาหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่อยู่ในสถานะที่ปลอดจากการเมือง กล่าวคือ สมาชิก วุฒิสภาส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพรรคการเมืองหรือนักการเมืองที่เป็นพรรค รัฐบาลหรือพรรคร่วมรัฐบาล หรือสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพรรค การเมืองหรือนักการเมืองที่เป็นพรรคฝ่ายค้านหรือพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งมีผลต่อการแสดง บทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา กล่าวโดยสรุป ที่มาหรือองค์ประกอบของวุฒิสภาเป็นปัจจัย ที่มีผลโดยตรงต่อการแสดงบทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาหรือสมาชิกวุฒิสภา กล่าวคือ ไม่ ว่าสมาชิกวุฒิสภาจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพรรคการเมืองหรือนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านก็ส่งผลให้การแสดงบทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาไม่มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล สมดังเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ