Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เจตคติต่อพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด และความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด พร้อมทั้งศึกษาอำนาจในการพยากรณ์ของปัจจัยดังกล่าว กับพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้น ม.1- ม.3 ของโรงเรียนในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีระดับความเครียดมากกว่าหรือเท่ากับระดับปานกลาง จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเจตคติต่อพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด แบบสอบถามความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 81, 91, 86, 84, และ 76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เมื่อเกิดความเครียดนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจะกระทำพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด ใน ระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.00 2.เจตคติต่อพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรมมการ จัดการกับความเครียด การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด ความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.261, .238, .288 และ .307 ตามลำดับ) 3.ความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด และเจตคติต่อพฤติกรรมการจัดการ กับความเครียด สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร้อยละ 10.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ พฤติกรรมการจัดการกับความเครียด = .234Z ความตั้งใจ + .134Z เจตคติ